วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พลังงานและสิ่งแวดล้อม



           หน่วยที่ 1 พลังงานเพื่อชีวิต
     พลังงานมนุษย์ นำพลังงานมาใช้ในการดำรงชีวิตตั้งแต่สมัยโบราณ เริ่มจากการใช้ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของไม้หรือหินเพื่อให้เกิดความ อบอุ่น แสงสว่างและการหุงต้มอาหาร มนุษย์เริ่มรู้จักทำกังหันวิดน้ำ ทำกังหันลมเพื่อยกของหนักและบดเมล็ดธัญญาพืช พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญ ในการส่งเสริมสวัสดิภาพและความผาสุกของประชาชนแต่ละประเทศทั่วโลก พลังงานมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของประเทศทั้งทางการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันมีการใช้พลังงานมากขึ้น ในการพัฒนาเศรษฐกิจทุกสาขาเช่น อุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง การไฟฟ้า เป็นต้น ปริมาณการใช้พลังงานมีความสัมพันธ์กับฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
ประโยชน์ของพลังงาน จำแนกประโยชน์ของพลังงานได้ ดังนี้
พลังงานในอาหาร จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทำให้เจริญเติบโต สามารถเคลื่อนไหวได้
พลังงานในระบบนิเวศ พลังงานจากแสงอาทิตย์พืชนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง
การสาธารณูปโภค เช่น การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันใช้พลังงานจากน้ำมัน กาซธรรมชาติ เป็นต้น
การค้า พลังงานรูปแบบต่าง ๆ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นสินค้าสำคัญที่ทำรายได้ให้กับประเทศผู้ผลิต
การผลิต พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางเกษตรกรรม เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิต
การขนส่งและการสื่อสาร ทำให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
การแพทย์ เช่น การใช้พลังงานจากรังสีเอกซ์เรย์จากแสงเรเซอร์ในการตรวจรักษาและการทำศัลยกรรมโรคต่าง ๆ
อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ต้องอาศัยพลังงานเครื่องมือจึงจะทำงานได้
การทหาร ประเทศที่มีความก้าวหน้าในการผลิตพลังงานเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการทหาร เช่น สหรัฐอเมริกา
ความหมายของพลังงาน
พลังงาน (Energy) หมายถึง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน (Work) เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำเผยอ ขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงาน รถไฟเคลื่อนที่ได้เพราะมีพลังงาน มนุษย์เดินได้เพราะมีพลังงาน
รูปแบบของพลังงาน
1. พลังงานเคมี
พลังงานเคมี เกิดขึ้นเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี ถ้าขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมีนั้นมีความร้อนเกิดขึ้นเรามีชื่อเรียกปฏิกิริยา เช่นนี้ว่า เอกโซเทอร์มิค (exothermic) และในทางตรงกันข้ามเรียก เอนโดเทอร์มิค (endothermic) ถ้าขณะที่เกิดปฏิกิริยาความร้อนหายไปนั่นคือเย็นลงกว่าปกติหรือต้องการความ ร้อนช่วยในปฏิกิริยานั้น
2. พลังงานความร้อน
พลังงานความร้อน ได้จากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงแต่มิใช่ว่าพลังงานความร้อนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับมวล หรือปริมาณเนื้อสารด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะอะตอมและโมเลกุลของสารใด ๆ ก็ตามไม่เคยอยู่นิ่งสนิท มีการเคลื่อนไหวเร็วบ้างช้าบ้างตลอดเวลา ถ้าเคลื่อนไหวเร็ว พลังงานจลน์สูง อุณหภูมิของวัตถุก็สูงตามไปด้วย และถ้ามีอะตอมเป็นจำนวนมากพลังงานที่มีอยู่ก็มาก นั่นคือถ้ามวลมากพลังงานมากด้วยนั่นเอง
3. พลังงานกล
พลังงานกล หมายถึงพลังงานที่ได้จากเครื่องกล เช่น เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันต่าง ๆ หรือเครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้น จากการศึกษาอย่างละเอียดเราจะพบว่าพลังงานกลจากเครื่องกลนี้เป็นการแปรรูปมา จากพลังงานความร้อน และนอกจากนั้นความฝืดหรือความเสียดทาน (friction) ในเครื่องกลแต่ละชนิดจะก่อให้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นเหตุให้ประสิทธิภาพ (efficiency) ของเครื่องกลตกต่ำ วิศวกรจึงต้องพยายามหาทางลดความเสียดทานของเครื่องกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
4. พลังงานไฟฟ้าพลังงาน ไฟฟ้า หมายถึง พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ กันดังเช่น ก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่างเป็นต้น
แหล่งของพลังงาน
แหล่งของพลังงาน การที่มนุษย์สามารถนำพลังงานรูปแบบต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นมาใช้ประโยชน์ มนุษย์สามารถนำพลังงานมาใช้จากสิ่งที่ให้พลังงานหรือสิ่งที่มีพลังงาน สะสมอยู่ ซึ่งเรียกว่าแหล่งของพลังงาน โดยทั่วไปแหล่งพลังงานสามารถจำแนกประเภทได้ 2 ประเภท คือ
แหล่งพลังงานใช้แล้วหมดไป(non - renewable energy) หรือ พลังงานสิ้นเปลือง เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก เมื่อนำมาใช้แล้วจะหมดสิ้นไปเรื่อยๆ ต้องใช้เวลานานนับล้านๆ ปี จึงจะสามารถเกิดขึ้นอีก เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หินน้ำมัน เป็นต้น
แหล่งพลังงานใช้ไม่หมด (renewable energy) หรือ พลังงานหมุนเวียน
เป็นแหล่งพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้เรื่อยๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล(เช่น ฟืน แกลบ ชานอ้อย และมูลสัตว์) เป็นต้น และที่ว่าใช้ไม่หมดก็เพราะสามารถหามาทดแทนได้ เช่น ปลูกป่าเอาไม้มาทำฟืน หรือปล่อยน้ำจากเขื่อนมาปั่นไฟ แล้วไหลลงทะเล กลายเป็นไอ และเป็นฝนตกลงมาสู่โลกอีก หรือแสงอาทิตย์ที่ได้รับจากดวงอาทิตย์อย่างไม่มีวันหมดสิ้น เป็นต้น เมื่อ พิจารณาการนำพลังงานจากแหล่งพลังงานต่างๆมาใช้ในปัจจุบัน จะพบว่าแหล่งพลังงานที่มนุษย์ใช้มากที่สุดมักเป็นแหล่งพลังงานสิ้นเปลือง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งพลังงานหลัก ซึ่งพลังงานเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาด้านมลพิษมากมาย และนับวันแหล่งพลังงานเหล่านี้มีแต่จะหมดไปเรื่อยๆ จึงต้องมีการพัฒนาเสาะหาแหล่งพลังงานอื่นเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความ ต้องการ เช่น แสงอาทิตย์ น้ำ ชีวมวล ดังนั้นแหล่งพลังงานหมุนเวียนจึงมีอีกชื่อหนึ่งคือ แหล่งพลังงานทดแทน
แหล่งพลังงาน ชนิดต่างๆ
แหล่งพลังงานใช้แล้วหมดไป หรือพลังงานสิ้นเปลือง
-
ปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ)
-
ถ่านหิน
- หินน้ำมัน
แหล่งพลังงานใช้ไม่หมด หรือพลังงานหมุนเวียน
- แสงอาทิตย์ - น้ำ
- ลม - ชีวมวล
- ความร้อนใต้พิภพ - ปฏิกิริยานิวเคลียร์
หน่วยพลังงานหน่วยที่ใช้วัดปริมาณพลังงานที่นิยมใช้มี 2 หน่วยคือ
บีทียู ( BTU = British thermal unit)เป็น หน่วยวัดปริมาณพลังงานในระบบอังกฤษ 1บีทียู หมายถึง ปริมาณความร้อนที่พอดีทำให้น้ำบริสุทธิ์มวล 1ปอนด์ มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 14.5 องศาฟาเรนไฮต์ เป็น15องศาเซลเซียล
กิโลแคลอรี หรือแคลอรี่ เป็น หน่วยวัดปริมาณพลังงานในระบบเอสโอ 1กิโลแคลอรี่คือ ปริมาณความร้อนมี่พอดีทำให้น้ำบริสุทธิ์มวล 1 กิโลกรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก15 องศาเซลเซียส เป็น16 องศาเซลเซียสที่ระดับทะเลปกติ
1บีทียู = 252 แคลอรี




      หน่วยที่ 2 พลังงานมาจากไหน

  พลังงานมาจากไหน แหล่งพลังงานมีอยู่หลายชนิดที่สามารถทำให้โลกเราเกิดการทำงาน และหากศึกษาวิเคราะห์ในเชิงลึกแล้วจะพบว่าแหล่งต้นตอของพลังงานที่ใช้ทำงาน ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ก็ล้วนมาจากพลังงานอันมหาศาลที่แผ่จากดวงอาทิตย์มา สู่โลกเรานี่เอง พลังงานจากดวงอาทิตย์นี้นอกจากจากจะสามารถใช้ประโยชน์จากแสงและความร้อนใน การทำงานโดยตรง เช่น การให้แสงสว่าง การให้ความร้อนความอบอุ่น การตากแห้งต่าง ๆ แล้วก็ยังก่อให้เกิดแหล่งพลังงานอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น
พลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์ คือ แสงสว่าง และความร้อน ที่ถูกสร้างขึ้นโดยดวงอาทิตย์ ทุกๆวันดวงอาทิตย์จะผลิตพลังงานได้เป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งแหล่งผลิตพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่มีวันหมดอีกด้วย นอกจากนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ยังถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นพลังงานทางเลือกสำหรับมนุษย์ใช้แทนที่พลังงานจากฟอสซิล อีกด้วย
พลังงานแสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร
ดวงอาทิตย์คือดาวขนาดยักษ์ที่เต็มไปด้วยก๊าซซึ่ง ประกอบด้วย ไฮโดรเจน และ ฮีเลี่ยม ภายในแกนของดวงอาทิตย์ ปฏิบัติการที่เรียกว่า การปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ได้สร้างพลังงานจำนวนมหาศาลที่เกิดจากไฮโดรเจน ภายในแกน และผสมผสานกันกลายเป็นก๊าซฮีเลียม ปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ทำการปลดปล่อยพลังงานจากแกนของดาวออกมาสู่พื้นผิว ระหว่างที่เดินทางมาสู่พื้นผิวดวงอาทิตย์ พลังงานดังกล่าวจะใช้เวลาในการแปรสภาพเป็นพลังงานแสงสว่าง แสงสว่างนี้คือสิ่งที่พวกเราเรียกว่าแสงอาทิตย์
แสงอาทิตย์ใช้เวลาเท่าไรในการเดินทางจากดวงอาทิตย์มายังโลก
จากบันทึกของ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) แสงอาทิตย์เดินทางมายังโลกด้วยความเร็วแสง หรือ ประมาณ 186,000ไมล์ ต่อวินาที ทำให้แสงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางมายังโลกเพียงแค่ 8 นาทีเท่านั้น
พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้ยังไง?
วิธีการง่ายๆที่นิยมใช้กัน คือใช้ระบบที่อยู่ในรูปแบบ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และ แบตเตอร์รี่เก็บพลังงาน แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเก็บแสงจากดวงอาทิตย์ เพื่อแปรสภาพเป็นพลังงาน และเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ ในขณะที่พลังดังกล่าวถูกเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ พลังงานนี้ก็จะถูกใช้งานได้ในรูปแบบของความร้อนและพลังงานไฟฟ้า
เมื่อพลังงานถูกแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้งานได้ดังนี้






* ทำน้ำร้อน สำหรับห้องอาบน้ำที่บ้าน หรือ สำหรับสระว่ายน้ำ
* ใช้สำหรับห้องปรับอุณหภูมิ ภายในบ้าน เรือนต้นไม้ หรือ อาคารพาณิชย์ต่างๆ
พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถถูกแปรสภาพเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วย 2 วิธี ดังนี้
1. ใช้อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ หรือที่เรียกกันว่า โซล่าร์ เซลล์เพื่อแปรสภาพแสงอาทิตย์ให้เป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง เซลล์รับแสงอาทิตย์ถูกนำมารวมกันเป็นแผงแล้วถูกจัดให้เป็นระเบียบ ซึ่งช่วยให้รับแสงอาทิตย์ได้เป็นพื้นที่กว้าง เซลล์แสงอาทิตย์นั้นจะเก็บพลังงานได้ตามขนาดของมัน เช่น แผ่นเล็กๆเหมาะสำหรับการสร้างพลังงานให้กับเครื่องคิดเลข และ นาฬิกาข้อมือ แต่เราต้องใช้แผงที่ใหญ่ขึ้นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่บ้าน และต้องใช้ขนาดใหญ่และกินพื้นที่เป็นไร่ ในการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า
2. โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น สามารถ ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ความร้อนจากเครื่องมือรวบรวมความร้อน แล้วแปรสภาพเป็นของเหลว ซึ่งช่วยในการผลิตไอน้ำ เพื่อเป็นพลังงานให้กับเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ประเทศสหรัฐฯ มีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แบบเข้มข้น อยู่ 11 แห่ง โดยที่มีอยู่ในรัฐ แคลิฟอร์เนีย 9 แห่ง และ ในรัฐเนวาด้า กับ อริโซน่า อีกรัฐละ 1 แห่ง
สรุปพลังงานแสงอาทิตย์
พลังงานน้ำพลังงาน น้ำจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ต้องมีการกักเก็บน้ำไว้ เพื่อเป็นการสะสมกำลัง โดยการก่อสร้างเขื่อนหรือฝายปิดลำน้ำที่มีระดับความสูงเป็นพลังงานศักย์ และผันน้ำเข้าท่อไปยังเครื่องกังหันน้ำขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ
กรม พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ดำเนินงานในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำที่มีอยู่ภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า โดยได้ดำเนินการผลิตพลังงานทดแทนจากโครงการไฟฟ้าพลังน้ำดังนี้
1. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำคลองทุ่งเพล เป็นโครงการเนื่องในพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตกิ่ง อ.คิชฌกูฏ และ อ.มะขาม จ.จันทบุรี มีขนาดกำลังผลิตรวม9.8 เมกกะวัตต์ เมื่อแล้วเสร็จสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 28.16 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
2. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำลุ่มน้ำน่านตอนบน ตั้งอยู่ที่ อ.เวียงสา จ.น่าน มีกำลังผลิตรวม 10 เมกกะวัตต์ คาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 54.62 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง
3. โครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแม่กะไน ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยปู อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มีกำลังผลิตรวม 0.89 เมกกะวัตต์ เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถ พพ.ได้ดำเนินการจัดตั้งโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านโดยดำเนินการในรูป แบบความร่วมมือกับราษฎร ปัจจุบันมีจำนวนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำระดับหมู่บ้านที่ยังสามารถเดินเครื่อง ผลิตพลังงานไฟฟ้าอยู่จำนวน 39 โครงการ มีกำลังผลิตรวม 1,155 กิโลวัตต์ จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์จำนวน 3,779 ครัวเรือน สำหรับปีงบประมาณ 2548 มีการก่อสร้างแล้วเสร็จจำนวน 3 โครงการ คือโครงการบ้านห้วยหมากลาง จ.แม่ฮ่องสอน มีขนาดกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และ โครงการบ้านสามหมื่นทุ่ง จ.ตาก มีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์ และในปีงบประมาณ 2549 มีโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างจำนวน 2 โครงการ คือโครงการบ้านมะโอโค๊ะ จ.ตาก มีกำลังผลิต 20 กิโลวัตต์ และโครงการแม่น้ำดะ จ.ตาก มีกำลังผลิต 60 กิโลวัตต์
พลังงานลม
พลังงานลม ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เป็นเทคโนโลยีที่ลวงตาว่าเรียบง่าย เบื้องหลังอาคารสูง เพรียว และใบพัดที่หมุนอย่างสม่ำเสมอ คือ วัสดุน้ำหนักเบาที่ทำงานร่วมกันอย่างซับซ้อน การออกแบบด้านการเคลื่อนไหวของอากาศ และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ พลังงานถูกส่งถ่ายจากปีกหมุน ผ่านเกียร์ ซึ่งบางครั้งปฏิบัติงานในความเร็วที่ไม่แน่นอน จากนั้นส่งไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (กังหันลมบางตัวไม่ส่งผ่านเกียร์แต่ใช้การขับเคลื่อนโดยตรงแทน)
ข้อดีของพลังงานลม
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน นี่เป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดของการผลิตพลังงานลม นอกจากนี้พลังงานลมยังปราศจากสารก่อมลพิษอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกด้วย

- มีความสมดุลด้านพลังงานที่ดีเยี่ยม - การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดจากการผลิต ติดตั้ง และให้บริการของกังหันลมที่มีช่วงอายุโดยเฉลี่ย 20 ปีถูก "ทดแทน" หลังดำเนินการผลิต 3-6 เดือน ซึ่งเท่ากับการผลิตพลังงานมากกว่า 19 ปีโดยแทบไม่มีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมเลย

- ดำเนินงานได้รวดเร็ว - ฟาร์มกังหันลมสามารถสร้างเสร็จสิ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ โดยใช้รถเครนติดตั้งหอคอยของกังหันลม ส่วนเชื่อมต่อกับปีกหมุน (โครงยึด) และ ใบพัดเหนือฐานคอนกรีตเสริมกำลัง
-เป็นแหล่งพลังงานที่น่าเชื่อถือและนำกลับมาใช้ใหม่ ได้ เนื่องจากลมที่ใช้ขับเคลื่อนกังหันลมไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดกาล และไม่ถูกกระทบโดยราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ขึ้นๆ ลงๆ นอกจากนี้ยังไม่ต้องอาศัยการทำเหมือง ขุดเจาะ หรือ ขนส่งไปยังสถานีจ่ายไฟฟ้า ในขณะที่ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้น คุณค่าของพลังงานลมก็สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายของการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานลมมีแต่จะลดลง
สรุปพลังงานลม
พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล

เชื้อเพลิงฟอสซิลคือ เชื้อเพลิงที่เกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมกันนับล้านปีใต้ท้องทะเลหรือพื้นดินลึ เชื้อ เพลิงฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ พลังงานเคมีจะถูกสะสมในโครงสร้างอะตอมของเชื้อเพลิงเหล่าน เมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น การเผาไหม้ก็จะทำให้เกิดพลังงานความร้อนออกมา เชื้อเพลิงฟอสซิสที่ใช้อยู่ทั่วไปในสภาพอณุหภูมิปกติแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1.เชื้อเพลิงแข็ง หมายถึง เชื้อเพลิงที่มีสถานะที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิปกติ และ ธาตุที่เป็นองค์ประกอบของเชื้อเพลิงชนิดนี้ส่วนมากจะประกอบไปด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน กำมะถัน และ เถ้า เมื่อทำปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนในอากาศแล้วจะให้พลังงานความร้อนออกมา โดยปกติเมื่อเกิดเผาไหม้คาร์บอนจะได้คาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนไฮโดรเจนเมื่อเกิดการเผาไหม้จะได้น้ำ เชื้อเพลิงแข็งที่ได้จากธรรมชาติได้แก่ ถ่านหิน หินน้ำมัน ถ่านไม้ และถ่านโค้ก เป็นต้น
2.เชื้อเพลิงเหลว หมายถึง เชื้อเพลิงที่มีสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิปกติ เชื้อเพลิงประเภทนี้ ได้แก่ น้ำมันที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม น้ำมันจากพืช น้ำมันจากสัตว์ เป็นต้น เชื้อเพลิงเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้มากในประเทศไทยโดยจะนิยมใช้กับยานพาหนะ และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพราะสะดวกต่อการใช้งาน และ ให้ค่าทางความร้อนสูง เชื้อเพลิงเหลวที่ใช้กันส่วนมากจะได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา เป็นต้น สำหรับเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากพืชผลทางการเกษตร เช่น การผลิตไบโอดีเซล การสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำ เป็นต้น
3.เชื้อเพลิงก๊าซหมาย ถึง เชื้อเพลิงที่มีสถานะที่เป็นก๊าซที่อุณหภูมิปกติ หรืออาจหมายถึงก๊าซทุกชนิดที่สามารถนำมาทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเเล้วเกิดการ เผาไหม้ทำให้ได้พลังงานความร้อนที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เชื้อเพลิงประเภทนี้จะมีสารไฮโดรคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก เเละ ก๊าซเเต่ละชนิดจะให้ความร้อนจากการเผาไหม้ที่ไม่เท่ากัน เช่น ก๊าซชีวมวล ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซเอ็น.จี.วี. ก๊าซเเอล.พี.จี. เป็นต้น
พลังงานชีวมวลพลังงานชีวมวล(Bio-energy)หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ
กระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ
1.การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อ นำชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่าความร้อนของชนิดชีวมวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิและความ ดันสูง ไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่างชีวมวลประเภทนี้คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้
2.การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่าแก๊สชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน ไฮโดรเจน และ คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถนำไปใช้กับกังหันแก๊ส(gas turbine)
3.การหมัก (fermentation) เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ(biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า
4.การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้
4.1 กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน
4.2 กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่านกระบวนการ transesterification เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล
4.3 กระบวนการใช้ความร้อนสูง เช่นกระบวนการไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทางการเกษตรได้ความร้อนสูงในสภาพไร้ออกซิเจน จะเกิดการสลายตัว เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลวและแก๊สผสมกัน
สรุปพลังงานชีวมวล
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงาน ความร้อนใต้พิภพ หมายถึง พลังงานความร้อนตามธรรมชาติที่ได้จากแหล่งความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ ผิวโลก โดยปกติอุณหภูมิใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก และเมื่อยิ่งลึกลงไปถึงภายในใจกลางของโลก จะมีแหล่งพลังงานความร้อนมหาศาลอยู่ ความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลกนี้มีแรงดันสูงมาก จึงพยายามที่จะดันตัวออกจากผิวโลกตามรอยแตกต่างๆ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ มักพบในบริเวณที่เรียกว่าจุดร้อน (hot spots) โดยบริเวณนั้นจะมีค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความลึก มีบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจาย ของความร้อน จากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดิน (geothermal gradient) มากกว่าปกติประมาณ1.5-5 เท่า
ลักษณะทั่วไปของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ สามารถแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 4 ลักษณะคือ
1. แหล่งที่เป็นไอน้ำ เป็นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่อยู่ใกล้กับแหล่งหินหลอมเหลวในระดับ ตื้นๆ ทำให้น้ำในบริเวณนั้นได้รับพลังงานความร้อนสูงจนกระทั่งเกิดการเดือดเป็นไอ น้ำร้อน
2. แหล่งที่เป็นน้ำร้อน ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำเค็ม (hot brine sources) เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่พบเห็นได้ทั่วไป มีลักษณะเป็นน้ำเค็มร้อนโดยมีจะอุณหภูมิต่ำกว่า 180 องศาเซลเซียส
3. แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้ง แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้ง (hot dry rock) เป็นแหล่งที่สะสมพลังงานความร้อนในรูปของหินเนื้อแน่นโดยไม่มีน้ำร้อนหรือไอ น้ำเกิดขึ้นเลย แหล่งลักษณะนี้จะมีค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามความลึกเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส
4. แหล่งที่เป็นแมกมา (molten magma) แมกมาหรือลาวาเหลว เป็น แหล่งพลังงานความร้อนที่มีค่าสูงสุดในบรรดาแหล่งพลังงานความร้อนที่กล่าวมา โดยมีอุณหภูมิสูงกว่า 650 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่จะพบในแอ่งใต้ภูเขาไฟ
พลังงานนิวเคลียร์  พลังงานนิวเคลียร์ เป็น พลังงานรูปหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์ชาวผรั่งเศสชื่อ อังรีเบกเคอเรล ได้ค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อ พ.ศ. 2439 แต่คนทั่วไปเริ่มรู้จักพลังงานนิวเคลียร์หลังจากที่มีการทิ้งระเบิดปรมาณู ที่เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2488 ในช่วงปลายสงครามโลก ครั้งที่สอง มีผลทำให้สงครามโลกครั้งที่สองยุติ แต่ผลของระเบิดปรมาณูในครั้งนั้นได้ทำลายชีวิติมนุษย์ไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นอกจากนี้ กัมมันตภาพรังสี ที่เกิดขึ้นจากการระเบิดยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและมีผล ต่อผู้รอดชีวิตในระยะยาวอีกด้วย หลังจากที่มนุษย์ได้รู้ถึงอำนาจทำลายของระเบิดปรมาณูแล้ว จึงได้ค้นคว้าวิจัย เพื่อนำพลังงานนิวเคลียร์ มาใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ จนในปัจจุบัน มีหลายประเทศ นำพลังงานนิวเคลียร์ไปใช้ ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม จนปัจจุบันนิวเคลียร์ได้เข้าไป มีบทบาท ในชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกที แต่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ สินค้าบางชนิด เช่น กระดาษ ปูนซิเมนต์ กระเบื้อง ยาสีฟัน อาจผลิตโดยใช้ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการควบคุมคุณภาพ สำลี ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ปิดแผล เข็ม หลอดฉีดยา เหล่านี้เป็นเวชภัณฑ์ ที่ทำให้ปลอดเชื้อ โดยใช้รังสี ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงานนิวเคลียร์
การใช้พลังงานนิวเคลียร์ ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในกิจการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ซึ่งพอสรุปได้เป็น 3 ด้าน คือ
1. ด้านการแพทย์ มี การนำ เอาสารกัมมันตรังสี และรังสีมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค ทำให้การวินิจฉัย และรักษาโรคของแพทย์ เป็นไปอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว สามารถบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยชีวิต ของผู้ป่วยได้มากขึ้น ประโยชน์ในการใช้ สารกัมมันตรังสีทางการแพทย์มีหลายด้านเช่น ด้านการตรวจวินิจฉัย ด้านการบำบัดโรค จะ เห็นว่าการนำสารกัมมันตรังสี มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ควบคู่ไปกับ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาแบบอื่น จะก่อประโยชน์ ต่อคนไข้อย่างยิ่ง และนับวันศาสตร์ ด้านนี้จะก้าวหน้าขึ้นเรื่อง ๆ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
2. ด้านอุตสาหกรรม มีการนำเอาพลังงานนิวเคลียร์ ไปใช้กันอย่างกว้างขวางเช่นกัน ในที่นี้จะขอกล่าวพอสังเขป 2 ตัวอย่าง คือการปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และ การตรวจสอบโครงสร้างภายใน
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกมาก
3. ด้านการเกษตร ประเทศ ไทยจัดว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม เพราะประชากร กว่าร้อยละ 60 ยังคงยึดการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ดังนั้น การค้นคว้าวิจัยทางการเกษตร เพื่อเพิ่มปริมาณ และคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเกษตรกร เพราะหมายถึงรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ของเกษตรกร ในปัจจุบัน ได้มีการใช้ เทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกษตร ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การกำจัดศัตรูพืช การปรับปรุงพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิต การเก็บถนอม รักษาผลผลิต ไม่ให้เสียหาย นอกจากนั้นก็ยังมี






                     หน่วยที่ 3 ความสำคัญของพลังงานต่อระบบนิเวศ
กฏธรรมชาติ สิ่ง มีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกเรานี้ จะต้องอาศัยธาตุชนิดต่างมาประกอบกันเข้า โดยมีพลังงานก่อให้เกิดความเคลื่อนไหว โยกย้าย หรือปฏิกิริยาต่างๆขึ้น การที่เรา สามารถเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้ หรือสามารถเดินไปมาได้ก็เพราะอาศัยพลังงานที่ร่างกายได้รับจากอาหาร และร่างกายสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ก็เพราะได้ รับธาตุที่ร่างกายต้องการจากธาตุอาหาร น้ำ และอากาศ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนต้องอยู่ภายใต้ กฏธรรมชาติ ดังนี้
1. พลังงานจะได้จากธรรมชาติเท่านั้น ดวง อาทิตย์เป็นต้นกำเนิดของพลังงานที่สำคัญที่สุดของพลังงานที่ใช้กันอยู่ในโลก ไม่ว่าจะ เป็นพลังงานในอาหารน้ำมันถ่านหิน เป็นต้น ล้วนเป็นพลังงานที่มีต้นกำเนิดจากพลังงานของดวงอาทิตย์ทั้งนั้น มนุษย์ไม่สามารถสร้างพลังงานขึ้นมาเองได้ แต่มนุษย์สามารถเปลี่ยนพลังงานจาก รูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้ เช่น เปลี่ยนพลังงานในน้ำมัน ให้เป็นพลังงานที่ทำให้รถแล่นได้ แต่นำมันหมดรถก็ไม่สามารถแล่นได้ เราสามารถเดินไปโรงเรียนได้เพราะ อาศัยพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ถ้าร่างกายขาดอาหารเราก็ไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้ ดังนั้นพลังงานที่ร่างกาย มนุษย์ได้รับ หรือ พลังงานที่ถือว่า เกิดจากเทคโนโลยีใดๆ ก็ตาม ล้วนเป็นพลังงานที่ได้จากธรรมชาติทั้งสิ้น
2. สารอาหารจะได้จากธรรมชาติเท่านั้น อาหาร หรือธาตุอาหารของพืช ของสัตว์ หรือของมนุษย์ จะต้องได้มาจากธรรมชาติเท่นั้น และพืชเท่านั้นที่เป็นผู้สร้างอาหาร ดังนั้นสัตว์และมนุษย์จึงเป็นเพียงผู้ที่นำเอกสารอาหารที่พืชสร้างขึ้นมา นั้นปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง บางครั้งเราอาจคิดว่ามนุษย์เป็นผู้ผลิตอาหารเทียมขึ้นมาเองได้ เช่น การผลิตวิตามินชนิดต่างๆ
ระบบนิเวศ หมายถึง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่ง ที่อยู่อาศัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง ความสัมพันธ์มี 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต และระหว่าง สิ่งมีชีวิต กับสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองโดยมีการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร ในบริเวณนั้นๆ สู่สิ่งแวดล้อมเราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ เราอาจสรุปความหมายของระบบนิเวศได้ดังนี้
ระบบนิเวศ = กลุ่มสิ่งมีชีวิต + แหล่งที่อยู่
ประเภทของระบบนิเวศ
1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems)เป็น ระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็น หลักแบ่ง ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน ระบบนิเวศบนบกนั้นพอแบ่งออกได้ดังนี้
1.1 ระบบนิเวศน์ป่าไม้ (Forest Ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ดังนี้
- ระบบนิเวศน์ป่าไม้เขตร้อน ได้แก่ ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา เป็นต้น
- ระบบนิเวศน์ป่าไม้เขตอบอุ่น ได้แก่ ระบบนิเวศป่าผลัดใบเขตอบอุ่น ป่าเมดิเตอร์เรเนียน
- ระบบนิเวศน์ป่าไม้เขตหนาว ได้แก่ระบบนิเวศป่าสน
- ระบบนิเวศน์ป่าชายฝั่ง (ป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าโขดหิน)
1.2 ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้า (Grassland Ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีพืชตระกูลหญ้าเป็นพืชเด่น แบ่งได้ดังนี้
- ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตร้อน ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าซาวันนา โดยมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกที่รูจักกันในนามทุ่งหญ้าซาฟารี
- ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าแพรรี่, ทุ่งหญ้าสเตปป์
- ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตหนาว ทุ่งหญ้าทุนดรา
1.3 ระบบนิเวศน์ทะเลทราย (Desert Ecosystem) เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปริมาณการระเหยน้ำ แต่บางพื้นที่อาจมีฝนตกบ้างเล็กน้อยก็จะมีหญ้าเขตแห้งแล้งงอกงามได้ ได้แก่
- ระบบนิเวศน์ทะเลทรายเขตร้อน ทะเลทรายเขตอบอุ่น
- ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน
2. ระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic Ecosystems) เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก ซึ่งโครงสร้างหลัก คือ น้ำนั่นเอง แบ่งออกได้ดังนี้
2.1 ระบบนิเวศน้ำจืด (Fresh water Ecosystem) เป็นระบบที่น้ำเป็นน้ำจืด อาจแบ่งย่อยเป็น
2.1.1 ระบบนิเวศน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ทะเลสาบน้ำจืด เป็นต้น
2.1.2 ระบบนิเวศน้ำไหล เช่น ลำธาร ห้วย แม่น้ำ เป็นต้น
2.2 ระบบนิเวศน้ำกร่อย (Estuarine Ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่เกิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม มักเป็นบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำต่าง ๆ จะมีตะกอนมากจึงมีป่าไม้กลุ่มป่าชายเลนขึ้นจึงเรียกว่าระบบนิเวศป่าชายเลน แต่บางพื้นที่อาจเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสงขลาตอนกลางก็จะมีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำกร่อยมีพืชน้ำสลับกับป่าโกงกาง
2.3 ระบบนิเวศน้ำเค็ม (Marine Ecosystem) เป็นระบบนิเวศที่มีน้ำเป็นน้ำเค็ม โดยปกติจะมีความเค็มประมาณพันละ 35 มีทั้งที่เป็นทะเลปิดและทะเลเปิดเนื่องจากเป็นห้วงน้ำขนาดใหญ่ จึงนิยมแบ่งออกเป็นระบบนิเวศย่อยตามความลึกของน้ำอีกด้วย คือ
2.3.1 ระบบนิเวศชายฝั่ง (Coastal Ecosystem) เป็นบริเวณที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำดังกล่าว มีระบบย่อย 2 ประเภท คือ ระบบนิเวศโขดหินชายฝั่ง และ ระบบนิเวศชายหาด
2.3.2 ระบบนิเวศน้ำตื้น เป็นระบบนิเวศที่นับจากระบบนิเวศชายฝั่งลงไปจนถึงน้ำลึก 200 เมตร
2.3.3 ระบบนิเวศทะเลลึก เป็นระบบนิเวศที่นับต่อเนื่องจากความลึก 200 เมตรลงไปถึงท้องทะเล ส่วนนี้มักเป็นบริเวณที่แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง ดังนั้นจึงขาดแคลนผู้ผลิตของระบบ สัตว์น้ำต่าง ๆ จึงมีจำนวนน้อยและใช้ชีวิตโดยรอซากสิ่งชีวิตอื่นที่ตายจากด้านบนแล้ว
องค์ประกอบของระบบนิเวศ ระบบนิเวศทุก ๆ ระบบจะมีโครงสร้างที่กำหนดโดยชนิดของสิ่งมีชีวิตเฉพาะอย่าง ที่อยู่ในระบบนั้น ๆ โครงสร้างประกอบด้วยจำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เหล่านี้ และการกระจายตัวของมันถึงแม้ว่าระบบนิเวศบนโลกจะมีความหลากหลายแต่มีโครง สร้างที่คล้ายคลึงกันคือ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ
2 ส่วนคือ
1.ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic component) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.1 อนินทรียสาร เช่น คาร์บอนไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและออกซิเจน เป็นต้น
1.2 อินทรียสาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และฮิวมัส เป็นต้น
1.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสง อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง ความ เค็มและความชื้น เป็นต้น
2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (Biotic component) แบ่งออกได้เป็น
2.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สามารถนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้เอง จากแร่ธาตุและสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด พวกผู้ผลิตนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนเริ่มต้นและเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตกับส่วน ที่มีชีวิตอื่น ๆ ในระบบนิเวศ
2.2 ผู้บริโภค (consumer) คือ พวกที่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งที่มีชีวิตอื่น ๆ อีกทอด หนึ่งได้แก่พวกสัตว์ต่าง ๆ แบ่งได้เป็น
- ผู้บริโภคปฐมภูมิ (primary consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น กระต่าย วัว ควาย และปลาที่กินพืชเล็ก ๆ ฯลฯ
- ผู้บริโภคทุติยภูมิ (secondary consumer) เป็นสัตว์ที่ได้รับอาหารจากการกินเนื้อสัตว์ที่ กินพืชเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัขจิ้งจอก ปลากินเนื้อ ฯลฯ
- ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiauy consumer) เป็นพวกที่กินทั้งสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ นอกจากนี้ยังได้แก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุดซึ่งหมายถึง สัตว์ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่น ๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์
2.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นพวกไม่สามารถปรุงอาหารได้ แต่จะกินอาหารโดย การผลิตเอนไซน์ออกมาย่อยสลายแร่ธาตุต่าง ๆ ในส่วนประกอบของสิ่งที่มีชีวิตให้เป็นสารโมเลกุลเล็กแล้วจึงดูดซึมไปใช้เป็น สารอาหารบางส่วน ส่วนที่เหลือปลดปล่อยออกไปสู่ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตจะสามารถเอาไปใช้ต่อไป จึงนับว่าผู้ย่อยสลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สารอาหารสามารถหมุนเวียนเป็น วัฏจักรได้
กระบวนการพลังงานในสิ่งมีชีวิต
1. กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ กระบวนการซึ่งพืชสังเคราะห์สารอินทรีย์จากสารประกอบ อินทรีย์ โดยมีแสงปรากฏอยู่ด้วย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและรักษาสภาพเดิม ให้คงอยู่ สาหร่าย พืชชั้นสูง และแบคทีเรียบางชนิดสามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์ และใช้พลังงานนี้ในการสังเคราะห์สารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ แต่สัตว์ไม่สามารถรับพลังงานโดยตรงจากแสงอาทิตย์ ต้องรับพลังงานโดยการบริโภคพืชและสัตว์อื่น ดังนั้นแหล่งของ พลังงานทางเมตาบอลิสม์ในโลกคือดวงอาทิตย์ และกระบวนการสังเคราะห์แสง จึงจำเป็นสำหรับชีวิตบนโลกประโยชน์ของการสังเคราะห์แสงมีดังนี้
1. เป็นกระบวนการสร้างอาหารเพื่อการดำรงชีวิตของพืช
2. เป็นกระบวนการซึ่งสร้างสารประกอบชนิดอื่น ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการเจริญ
เติบโตของพืช
3. เป็นกระบวนการซึ่งให้ก๊าซออกซิเจนแก่บรรยากาศ
4. ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้อยู่ในสภาวะสมดุล
การที่พืชรับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์ได้โดยตรงนี้ พืชต้องมีกลไกพิเศษ คือ มีรงควัตถุ (Pigment) สีเขียว ซึ่งเรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophylls)
2. กระบวนการหายใจเป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นในเซลล์ที่มีชีวิตทั้งหมดของพืชและสัตว์โดยการหายใจเอา ออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารอาหารเช่นกลูโคสทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำเป็นผลผลิตพร้อมกับพลังงานที่ถูกเก็บไว้ในโมเลกุลของกลูโคสจะถูกปลด ปล่อยออกสู่ระบบนิเวศ






               หน่วยที่ 4 มนุษย์กับการใช้พลังงาน
วิวัฒนาการการใช้พลังงานของมนุษย์ วิวัฒนาการ การค้นพบกับการนำมาใช้งานนั้นมีความเป็นมาควบคู่กับความเจริญก้าวหน้าของ อารยธรรมมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งยุคสมัยของความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ตาม วิวัฒนาการในการใช้พลังงานดังนี้
ยุคหินเก่า (Paleolithic or Old Stone Age)เกิด ขึ้นเมื่อประมาณ 2,000,000 – 8,000 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์ยุคนี้เป็นพวกเร่ร่อนล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้อย่างหยาบๆ ด้วยหิน ไม้ กระดูก และเขาสัตว์ อาศัยอยู่ตามถ้ำ อยู่กันเป็นครอบครัว เป็นระบบเครือญาติ ชุมชนอย่างแท้จริงยังไม่เกิดขึ้น เพราะสภาพเศรษฐกิจแบบแสวงหาอาหารไม่เอื้ออำนวย องค์กรทางการเมืองการปกครองยังไม่เกิดมีขึ้น สังคมมีสภาพเป็นอนาธิปัตย์ ผู้ที่มีอำนาจคือผู้ที่มีความแข็งแรงมากกว่าคนอื่น
ยุคหินใหม่ (Neolithic or New Stone Age) เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 8,000 – 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล ในยุคนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์ 4 ประการ คือ มีการคิดค้นการเพาะปลูกข้าวเป็นครั้งแรก เริ่มต้นการเลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา และการประดิษฐ์อาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้จากหิน โดยขัดให้เรียบ สามารถใช้ประโยชน์ได้ง่ายและ มีประสิทธิภาพ พื้นฐานทางเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็น ผู้เสาะแสวงหาอาหาร (food-gatherer) มาเป็นผู้ผลิตอาหาร (food-producer) โดยพบหลักฐานว่ามีการเพาะปลูกข้าวเป็นครั้งแรกที่เมืองจาร์โม (Jarmo) ทางภาคเหนือของเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 6,750 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์เริ่มรู้จักการชลประทานอย่างง่ายๆ ทำอ่างเก็บน้ำ ทำนบกั้นน้ำ และพยายามเรียนรู้ที่จะควบคุมธรรมชาติ และแสวงหาประโยชน์จากธรรมชาติ การผลิตเครื่องปั้นดินเผาชี้ให้เห็นว่า มนุษย์เริ่มสะสมอาหารไว้ให้เพียงพอต่อการบริโภค เมื่อมนุษย์ยุคหินใหม่เปลี่ยนชีวิตจากการเป็นนักล่าสัตว์มาเป็นกสิกร วิถีการดำรงชีวิตก็เปลี่ยนจากการเร่ร่อนมาเป็นการตั้งหลักแหล่งอยู่กับที่ มีการสร้างบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ จากครอบครัวหลายครอบครัวกลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เกิดเป็นสังคมชนเผ่า (tribal societies) คนในสังคมจะมีภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมเดียวกัน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ทำให้เกิดกฎหมายและกฎข้อบังคับในหมู่บ้านขึ้น มีหัวหน้าปกครอง หมู่บ้านกสิกรเหล่านี้เองคือชุมชนแห่งแรกของโลก ซึ่งเป็นสังคมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบหลักฐานมา อยู่ที่เขตตะวันออกกลางแถบประเทศตุรกี ซีเรีย อิสราเอล อิรัก อิหร่าน และอียิปต์ ในปัจจุบันเมื่อชุมชนของมนุษย์มีขนาดใหญ่โตขึ้น ก็เกิดมีบ้านเมืองตามลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆ พร้อมกับสร้างสรรค์อารยธรรมของตนขึ้นมา
ยุคเกษตรกรรมใน ยุคเกษตรกรรมนี้ มนุษย์พึ่งพาอาศัยธรรมชาติในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น ไม่ว่าจะทำมาหาเลี้ยงชีพหรือจะทำอะไร มนุษย์ก็ทำกับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นไปตามปกติ เช่นจะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ปลูกข้าว ก็ทำกับผืนดินในนา แล้วก็อาศัยธรรมชาตินั้นเองคอยปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และปล่อยให้ธรรมชาติดำเนินไปตามทางของมัน รอคอยเวลาแล้วผลิตผลก็เกิดขึ้น ในยุคนี้มนุษย์ก็เพียงแต่อยู่ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ เมื่อเข้ากับธรรมชาติได้ก็อยู่ได้ ซึ่งก็นับว่าอยู่ได้ด้วยดีพอประมาณ แต่เป็นลักษณะที่ต้องขึ้นกับธรรมชาติมาก อันนี้ก็เป็นลักษณะของชีวิตแบบหนึ่ง
ยุคอุตสาหกรรม ก็อย่างที่กล่าวมาแล้วว่ามนุษย์พยายามที่จะสร้างสรรค์ พัฒนาความรู้ความเข้าใจทางวิชาการขึ้นมาในแต่ละด้าน แต่ละสาขาให้เจริญเต็มที่ เพราะอะไร เพราะตอนนี้มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ จะทำให้เหนือกว่าที่ธรรมชาติจะทำให้ได้และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติ ได้
การนำพลังงานมาใช้เพื่อพัฒนาประเทศ การจำแนกลักษณะการใช้พลังงานในสาขาเศรษฐกิจต่างๆมีดังนี้
1. การใช้พลังงานในภาคขนส่งและคมนาคม
จากกราฟจะเห็นได้ว่าสัดส่วนในภาคขนส่งทางบกโดยเฉพาะ ระบบถนนหรือรถยนต์มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 86% ของการขนส่งทั้งหมด เนื่องจากความสะดวกรวดเร็วในการขนส่ง ขณะที่ระบบรางหรือรถไฟกลับมีสัดส่วนเพียง 2% ซึ่งเป็นเพราะรถไฟมีการออกเป็นเวลาและไม่สามารถส่งตรงจากคลังสินค้าสู่คลัง สินค้าได้ (ถ้ารางรถไฟเข้าไม่ถึง)
ขณะที่ระบบการขนส่งทางเรือมีสัดส่วนมาเป็นที่สองด้วยสัดส่วน 12% อันเนื่องมาจากความสะดวกในการขนส่งแต่ก็ยังไม่สะดวกมากเท่าทางรถยนต์ ขณะที่ทางอากาศมีสัดส่วนน้อยที่สุด เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงเกินไป สอดคล้องกับความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคคมนาคมขนส่ง ซึ่งสัดส่วนของน้ำมันดีเซลที่ใช้มากในรถบรรทุกมีอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปี และมีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การประหยัดลดการใช้น้ำมันดีเซลจึงเป็นอีกหนึ่งช่อง ทางในการลดการใช้พลังงานของประเทศ ซึ่งวิธีและขั้นตอนการประหยัดสามารถทำได้ โดยปัจจุบันภาครัฐเริ่มเข้ามาดูแลในเรื่องของพลังงานภาคส่วนนี้ และมีหลายบริษัทที่สามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างชัดเจน ส่งผลดีกับบริษัทขนส่งในแง่ของการลดต้นทุนและความปลอดภัยในการขับขี่อีกด้วย





    หน่วยที่ 5 ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน สภาพ ความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมส่วนใหญ่ อาจกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น ดังนั้นการเสาะแสวงหาทรัพยากรพลังงานมาเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่ สูงขึ้นเรื่อยๆจึงควรระมัดระวังและพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาใช้ นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรพลังงาน ดังนี้
1) ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย
2) ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย
3) ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
4) เกิดมลภาวะทั้งทางดิน น้ำและอากาศ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคผลิตไฟฟ้า พลังงานที่ใช้กันในแต่ละประเทศคือ พลังงานไฟฟ้า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีกระบวนการผลิตซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่สำคัญๆดังนี้
ถ่านหิน
ถ่านหิน เป็นแหล่งพลังงานที่มีมลพิษสูงโดยปล่อยธาตุคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานมากกว่า น้ำมันและก๊าซธรรมชาติปริมาณสูงการใช้ถ่านหินนำมาซึ่งผลกระทบมหาศาลด้านสิ่ง แวดล้อม สุขภาพมนุษย์ และ สังคมซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากผลกระทบที่มีต่อชุมชนผู้ยากจนเป็นส่วนมากที่อาศัย อยู่ในและรอบๆ เหมือง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากภาคอุตสาหกรรม การ ผลิตและการใช้พลังงานในโรงงานก่อให้เกิดมลพิษและของเสียงปลดปล่อยออกมาซึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อสังคมและชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงกับโรงงานสรุปได้ดังนี้

น้ำทิ้ง ส่วน ใหญ่ของการใช้น้ำในกิจการอุตสาหกรรม กว่าร้อยละ 80 เป็นการใช้เพื่อการหล่อเย็น นอกนั้นเป็นการใช้เพื่อกระบวนการผลิตและอื่นๆ น้ำหล่อเย็นควรมีอุณหภูมิต่ำ ความกระด้างต่ำ ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ส่วนคุณภาพน้ำที่ต้องการสำหรับกระบวนการผลิตจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะพิเศษของแต่ละผลิตภัณฑ์และแต่ละกระบวนการ เช่น เหล็ก แมงกานีส คาร์บอนไดออกไซด์ จะทำความเสียหายให้กับกระบวนการผลิตกระดาษ น้ำที่มีปริมาณคลอรีนสูง เป็นอันตรายต่อการผลิตเหล็กหล่อเป็นต้น
น้ำ เสียจากกิจการอุตสาหกรรม (Industrial waste) หากเป็นน้ำหล่อเย็นจะทำให้อุณหภูมิของแหล่งน้ำรองรับสูงขึ้น ทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยลง ส่วนน้ำเสียจากกระบวนการผลิตจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภท ขนาดของอุตสาหกรรม น้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมบางประเภทสร้างปัญหารุนแรงมากเช่น อาจปล่อยคราบน้ำมันออกมากับน้ำเสีย มีโลหะหนักปนเปื้อน มีความเป็นกรดสูง เป็นต้น
มลพิษทางอากาศ จาก แหล่ง กำเนิดอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผล กระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผล กระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน โดยทั่วไปหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับ อุตสาหกรรมมีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ
เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG
สารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิด ต่าง ๆ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งพบว่ามีปริมาณการระบายออกสู่บรรยากาศเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามปริมาณการใช้ เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น

                     หน่วยที่ 6 สภาวะโลกร้อน
สภาวะโลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูล เหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆจากโรงงานอุตสาหกรรมทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลก ได้มากขึ้นซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่าเพื่อใช้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและการทำปศุสัตว์ เป็นต้น โดยการเผาป่าเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้โดย เร็วที่สุด
ก๊าซมีเทน(CH4) เกิด ขึ้นจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต แม้ว่ามีก๊าซมีเทนอยู่ในอากาศเพียง 1.7 ppm แต่ก๊าซมีเทนมีคุณสมบัติของก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือด้วยปริมาตรที่เท่ากัน ก๊าซมีเทนสามารถดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไนตรัจออกไซด์ (N2O)ปกติ ก๊าซชนิดนี้ในธรรมชาติเกิดจากการย่อยสลายซากสิ่งมีชิวิตโดยแบคทีเรีย แต่ที่มีเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เนื่องมาจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกบางชนิด เป็นต้น ก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อน สะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.14 วัตต์/ตารางเมตร นอกจากนั้นเมื่อก๊าซไนตรัสออกไซด์ลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ มันจะทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตของโลกลดน้อยลง
ก๊าซโอโซน(O3) เป็น ก๊าซที่ประกอบด้วยธาตุออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ โอโซนไม่ใช่ก๊าซที่มีเสถียรภาพสูง มันมีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 - 30 สัปดาห์ แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากก๊าซออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนและโมเลกุลชนิดอื่น (M)ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง แล้วให้ผลผลิตเป็นก๊าซโอโซนออกมา
ผลกระทบจากสภาวะโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับโลกและระดับ ภูมิภาคทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ดังนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับโลกและระดับภูมิภาคทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ดังนี้
ระดับน้ำทะเลขึ้นสูง
หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นอีก 1.4-5.8 องศาเซลเซียสจะส่งผลให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย และระดับน้ำทะเลเฉลี่ยสูงขึ้นอีก 14 - 90 เซนติเมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบ ได้แก่ การสูญเสียที่ดินการกัดเซาะและการพังทลายของชายฝั่ง ในส่วนของพื้นที่ที่จะได้รับความเสียหายมากที่สุด คือหมู่เกาะเล็กๆ เช่น หมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และทะเลแคริเบียน รวมถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในพื้นที่ราบลุ่ม เช่น สามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ในประเทศอียิปต์ หากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 50ซม.จะ มีผลกระทบต่อประชากรโลกประมาณ 92 ล้านคน ตัวอย่างเช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 1 เมตรจะทำให้ประเทศอียิปต์เสียพื้นที่ดินเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ เนเธอร์แลนด์ 6 เปอร์เซ็นต์ บังคลาเทศ 17.5 เปอร์เซ็นต์ และ หมู่เกาะมาฮูโรในเกาะมาร์แชล 80 เปอร์เซ็นต์
สภาพอากาศรุนแรง เมื่อ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น ภัยธรรมชาติต่างๆมีแนวโน้มว่าจะเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น ภัยแล้ง ไฟป่า พายุไต้ฝุ่นโซนร้อน น้ำท่วม และการพังทลายของชั้นดินเป็นต้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของปรากฎการณ์เหล่านี้ ได้แก่ พายุไซโคลนที่เข้าถล่มรัฐโอริสสา ในประเทศอินเดีย และคร่าชีวิตผู้คนนับหมื่นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 สภาวะคลื่นความร้อน (Heat Wave) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 ที่ทำลายพืชผลการเกษตรในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และทำให้มีผู้เสียชีวิต 140 คน รวมทั้งปรากฎการณ์น้ำท่วมใหญ่ในจีน ความแห้งแล้งรุนแรงในซูดาน และเอธิโอเปีย ตลอดช่วงปี พ.ศ. 2542-43 เป็นต้น
ปะการังฟอกสี สีสันที่สวยงามของปะการังนั้นมาจากสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กที่พึ่งพาอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อชั้นในของปะการัง หากอุณหภูมิของน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน เพียง2-3 องศาเซลเซียส สาหร่ายนั้นจะตายไป เมื่อปะการังไม่มีอาหาร ปะการังก็จะตายและกลายเป็นสีขาว
ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า ปะการังฟอกสี หรือการเปลี่ยนสีของปะการัง การศึกษาวิจัยที่สถาบันสมุทรศาสตร์แห่งฟลอริด้า (Florida Institute of Oceanography)ระบุว่าเกิดการฟอกสีของปะการังสูงสุดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาในออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น ปานามา ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย เคนยา
ประเทศในบริเวณทะเลแดง เปอโตริโก จาไมก้า โดยเฉพาะ แนวปะการัง Great Barrier Reef นอกชายฝั่งออสเตรเลีย ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปะการังพันธุ์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์
ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เช่น ภาวะน้ำท่วม และคลื่นร้อน
ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ยุงลาย
ซึ่งเป็นพาหะนำไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย
เพิ่มขึ้นประมาณ 50-80 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะในเขตศูนย์สูตรและเขตร้อน เช่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โครงการ สิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะกระทบกระบวนการผลิตอาหาร สุขอนามัยและก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจตามมาสิ่งเหล่านี้ก็จะยิ่ง ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นในประเทศเขตร้อนชื้น เช่น โรคท้องร่วง โรคขาดอาหาร โรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้นอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะลดปริมาณน้ำสำรอง และเพิ่มปริมาณจุลชีพเล็กๆ
ในอาหารและน้ำ ก่อให้เกิดโรค เช่น โรคอาหารเป็นพิษผล กระทบของภาวะโลกร้อนดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง โดยจะเกิดกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนรุนแรงมากที่สุด เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวน และจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อปริมาณอาหารสำรอง และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็น หลัก ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเช่นเดียวกัน
ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ การ ศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุว่า ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตรในประเทศไทย สัมพันธ์กับปริมาณน้ำ ในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะทำให้ปริมาณน้ำลดลง (ประมาณ 5 - 10 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งจะมีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องอาศัยปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน รวมถึงความชื้นของดินและอุณหภูมิเฉลี่ยที่พอเหมาะด้วย





      หน่วยที่ 7 วิกฤตการณ์พลังงาน
ปัญหาพลังงานของโลก
ตั้งแต่ปี 1980 ถึงปี 2004 มีความต้องพลังงานหลักเพิ่มขึ้น 54% และจะเพิ่มขึ้นด้วยสัดส่วนเดียวกันนี้ เมื่อถึงปี 2030 (จาก 469 EJ เป็น 716 EJ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.6% ต่อปี) ความต้องการใช้ไฟฟ้า มีการเติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และคาดว่าจากปี 2004 ถึงปี 2030 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (จาก 17,408 TWhเป็น 33,750 TWh โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.6% ต่อปี) ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงมากในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบัน ประชาชนราว 2 พันล้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และถือเป็นกลุ่มที่ต้องให้ควาสำคัญสูงเป็นลำดับต้น
สหประชาชาติประมาณว่า ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 6.4 พันล้านคนในปี 2004 เป็น 8.1 พันล้านคน ในปี 2030 ความต้องการพลังงาน จึงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลานั้น ทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และความต้องการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิต ของประชาชนใน
ประเทศกำลังพัฒนา จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจากปี 2004 ถึง ปี 2030 จะเพิ่มขึ้น 53%
หรือคิดเป็นอัตรา 1.6% ต่อปี
ปัจจุบัน มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้า 16% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งโลก โดยมาจากถ่านหิน 40% น้ำมัน 10% น้ำและพลังงานอื่นอีก 19% พลังงานนิวเคลียร์เหมาะสำหรับการผลิตไฟฟ้าในสเกลใหญ่ โดยเฉพาะการใช้เป็นพลังงานพื้นฐาน (base-load) ในการผลิตไฟฟ้า
ปัญหาการใช้พลังงานในประเทศไทย
การใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานที่ใช้หมดแล้วและสามารถผลิตขึ้นมาได้อีกโดยแบ่ง ออกเป็น 15 ประเภทด้วยกันคือ แกลบ เศษไม้ ขี้เลื้อย ปาล์ม ชานอ้อย ถ่านไม้ ฟืน ซังข้าวโพด เปลือกถั่ว ไบโอดีเซล B-100 วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มันสำปะหลัง มะพร้าว ก๊าซชีวภาพ และขยะ ส่วนพลังงานเชิงพาณิชย์เป็นแหล่งพลังงานที่มีขนาดใหญ่เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นอกจากนี้ยังรวมถึงพลังงานที่ผ่านการแปรรูปได้แก่ ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปริมาณการใช้พลังงานของประเทศไทยประจำปี 2550 แสดงดังรูปที่ตามมา
พบ ว่า มีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มากสุดซึ่งเท่ากับ 25,402 ktoe คิดเป็น 68.90% ของการใช้พลังงานในประเทศ และมีการใช้พลังงานหมุนเวียนเท่ากับ11,466 ktoe คิดเป็น 31.10% ของการใช้พลังงานในประเทศ สาเหตุที่มีการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์มากกว่าพลังงานหมุนเวียนอาจเนื่องมาจาก เป็นพลังงานหลักที่ใช้ในภาคเศรษฐกิจ อย่างเช่น ภาคที่อยู่อาศัย ภาคการขนส่ง ภาคเกษตรกรรม ภาคธุรกิจการค้าและบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคอื่นๆ (เหมืองแร่และการก่อสร้าง) เป็นต้น

   

                         หน่วยที่ 8 พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทน หมายถึงพลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบคือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน
พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad :Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อ พลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้
พลังงานน้ำเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานศักย์ จากความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก การนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ประโยชน์ทำได้โดยให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ พลังงานศักย์ของน้ำถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนนี้คือ กังหันน้ำ (Turbines) น้ำที่มีความเร็วสูงจะผ่านเข้าท่อแล้วให้พลังงานจลน์แก้กังหันน้ำ ซึ่งหมุนขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากแหล่งน้ำที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ พลังงานน้ำตก พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานคลื่น
1. พลังงานน้ำตก การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนี้ทำได้โดยอาศัยพลังงานของน้ำตก ออกจากน้ำตามธรรมชาติ หรือน้ำตกที่เกิดจากการดัดแปลงสภาพธรรมชาติ เช่น น้ำตกที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ น้ำตกจากทะเลสาบบนเทือกเขาสู่หุบเขา กระแสน้ำในแม่น้ำไหลตกหน้าผา เป็นต้น การสร้างเขื่อนกั้นน้ำและให้น้ำตกไหลผ่านกังหันน้ำซึ่งติดอยู่บนเครื่อง กำเนิดไฟฟ้ากำลังงานน้ำที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของ น้ำที่ปล่อยลงมา ดังนั้นการผลิตพลังงานจากพลังงานนี้จำเป็นต้องมีบริเวณที่เหมาะสมและการ สร้างเขื่อนนั้นจะต้องลงทุนอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจคาดว่าทั่วโลกสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าจากกำลังน้ำ มากกว่าพลังงานทดแทนประเภทอื่น
2. พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง มีพื้นฐานมาจากพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ จึงจัดเป็นแหล่งพลังงานประเภทใช้แล้วไม่หมดไป สำหรับในการเปลี่ยนพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า คือ เลือกแม่น้ำหรืออ่าวที่มีพื้นที่เก็บน้ำได้มากและพิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงมีค่า สูงแล้วสร้างเขื่อนที่ปากแม่น้ำหรือปากอ่าว เพื่อให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขึ้นมา เมื่อน้ำขึ้นจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ และเมื่อน้ำลงน้ำจะไหลออกจากอ่างเก็บน้ำ การไหลเข้าออกจากอ่างของน้ำต้องควบคุมให้ไหลผ่านกังหันน้ำที่ต่อเชื่อมกับ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อกังหันน้ำหมุนก็จะได้ไฟฟ้าออกมาใช้งานหลักการผลิตไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลง มีหลักการเช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำตก แต่กำลังที่ได้จากพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงจะไม่ค่อยสม่ำเสมอเปลี่ยนแปลงไปมากใน ช่วงขึ้นลงของน้ำแต่อาจจัดให้มีพื้นที่กักน้ำเป็นสองบริเวณหรือบริเวณ พื้นที่เดียว โดยการจัดระบบการไหลของน้ำระหว่างบริเวณบ่อสูงและบ่อต่ำ และกักบริเวณภายนอกในช่วงที่มีการขึ้นลงของน้ำอย่างเหมาะสม จะทำให้กำลังงานพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงสม่ำเสมอดีขึ้น
3. พลังงานคลื่น เป็น การเก็บเกี่ยวเอา พลังงานที่ลม ถ่ายทอดให้กับผิวน้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นวิ่งเข้าสู่ชายฝั่งและเกาะแก่ง ต่างๆเครื่องผลิต ไฟฟ้าพลังงานคลื่นจะถูกออกแบบให้ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำบริเวณหน้าอ่าวด้าน หน้าที่หันเข้าหา คลื่น การใช้คลื่นเพื่อผลิตไฟฟ้านั้นถ้าจะให้ได้ผลจะต้องอยู่ในโซนที่มียอดคลื่น เฉลี่ยอยู่ที่ 8 เมตร ซึ่งบริเวณนั้นต้องมีแรงลมด้วย แต่จากการวัดความสูงของยอดคลื่นสูงสุดในประเทศไทยที่จังหวัดระนองพบว่า ยอดคลื่นสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 4 เมตรเท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่นในปัจจุบันนั้นยังคงไม่สามารถใช้ในบ้านเราให้ ผลจริงจังได้
พลังงานลม ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก พลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน (อ่าวไทย) สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้ หักโค่นลง สิ่งของวัตถุต่างๆ ล้มหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย มีความเร็ว อยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อตารางเมตร
พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อน ที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก (Geo = โลก, Thermal = ความร้อน) โดยปกติแล้วอุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก กล่าวคือยิ่งลึกลงไป อุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น และในบริเวณส่วนล่างของชั้นเปลือกโลก (Continental Crust) หรือที่ความลึกประมาณ 25-30 กิโลเมตร อุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ 250 ถึง 1,000C ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 3,500 ถึง 4,500 C การเกิดของพลังงานความร้อนใต้พิภพ ลักษณะของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่ในเขตใดบ้างในโลก
พลังงานชีวมวล (Bio-energy) หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ มีดังนี้คือ
1.การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่าความร้อนของชนิดชีวมวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิ และความดันสูงไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่างชีวมวลประเภทนี้คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้
2.การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่าแก๊สชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน แก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
สามารถนำไปใช้สำหรับกังหันแก๊ส(gas turbine)
3.การหมัก (fermentation) เป็น การนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ(biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้สามารถใช้ขยะอินทรีย์ชุมชน มูลสัตว์ น้ำเสียจากชุมชนหรืออุตสาหกรรมเกษตร เป็นแหล่งวัตถุดิบชีวมวลได้
4.การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้
กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหวาน กากน้ำตาล และเศษลำต้นอ้อย ให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน
กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่านกระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชั่น (transesterification) เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล
กระบวนการใช้ความร้อนสูง เช่นกระบวนการไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทางการเกษตรได้ความร้อนสูงในสภาพไร้ออกซิเจน จะเกิดการสลายตัว เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลวและแก๊สผสมกัน
พลังงานชีวมวลได้แก่ เอทานอล และไบโอดีเซล
หน่วยที่ 9 นโยบายพลังงาน
แนวโน้มและเทคโนโลยีพลังงานใหม่ของโลก จาก ปัญหาความไม่แน่นอนของราคาพลังงานในตลาดโลกโดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นกลับมาขยายตัว ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก็จะมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นโอกาสที่ราคาน้ำมันจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่เคยทำสถิติสูง สุดไว้เดิมก็มีความเป็นไปได้ รวมทั้งเป้าหมายในการรณรงค์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอน ไดออกไซด์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ให้การสนับสนุนส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ทั้งพลังงานลม แสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ ซึ่งจากรายงานของยูเอ็น ระบุว่าการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกในปี 2551 มีมูลค่ามากกว่า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนในด้านขุดเจาะและสำรวจน้ำมัน รวมทั้งมีการทุ่มเม็ดเงินลงทุนในการวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานรูปแบบ ใหม่ๆ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน
แนวโน้มพลังงานไทยในอนาคต ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (พ.ศ. 2551-2565) ของกระทรวงพลังงานที่กำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็น ร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ และแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan: PDP) ที่ประเทศไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นในปี 2564 เป็นโรงแรก รวมถึงแนวโน้มและเทคโนโลยีพลังงานใหม่ของโลกดังที่กล่าวข้างต้น เชื่อว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีรถยนต์ที่เรียกว่า รถFFV (Flex Fuel Vehicle) สามารถใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอลได้ตั้งแต่ร้อยละ 0 – 85 วิ่งตามท้องถนน นอกเหนือจากรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยมีน้ำมัน E20 ,E85 จำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันเท่านั้น ไม่มีการจำหน่ายเบนซิน 95 หรือเบนซิน91อีกต่อไป ซึ่งเอทานอลที่นำมาผสมอาจมาจากเซลลูโลสก็ได้ ส่วนรถยนต์ประเภทเครื่องยนต์ดีเซล ก็อาจจะมีน้ำมันไบโอดีเซล B5 และ B20 เป็นเชื้อเพลิงโดยไบโอดีเซลที่นำมาผสมอาจผลิตมาจากสาหร่ายขนาดเล็กเซลล์ เดียว นอกจากนั้น คนไทยอาจจะมีโอกาสได้เห็นรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงในท้องถนนด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงจะต้องมีสถานีบริการไฮโดรเจนเกิดขึ้นด้วยแล้วเช่นกัน
ส่วนทิศทางการสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต การใช้พลังงานนิวเคลียร์อาจได้รับการยอมรับจากประชาชนมากขึ้น และสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะทำให้โรงไฟฟ้า นิวเคลียร์มีความปลอดภัยสูง และมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่น นอกจากนี้ จากแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี และ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า เราจะมีไร่กังหันลมขนาดต่างๆ (Wind Farm) และไร่แผงผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ตามพื้นที่ต่างๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าชีวภาพตามชุมชน รวมถึงโรงไฟฟ้าจากขยะด้วยซึ่งจะทำให้การใช้พลังงานในประเทศไทยมีความหลาก หลายยิ่งขึ้น ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ
จะเห็นได้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลังงาน ของโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านพลังงานและยานยนต์ ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องพลังงานเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้นภาครัฐ-เอกชนต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมการวิจัยพัฒนา และติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีพลังงานอย่างใกล้ชิด
นโยบายการประหยัดพลังงาน
นโยบายพลังงานที่อยู่ ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554
นโยบายพลังงาน (ข้อ 3.5 หน้า 24-25)
(1) ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจ พลังงานของภูมิภาคโดยใช้ความได้เปรียบเชิงภูมิยุทธศาสตร์

(2) สร้างเสริมความมั่นคงทางพลังงาน โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานและระบบไฟฟ้าจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสม และยั่งยืน

(3) กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน

(4) ส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร

(5) ส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยลดระดับการใช้พลังงานต่อผลผลิตลงร้อยละ 25 ภายใน 20 ปี และมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์และอาคารสถานที่ที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะ โลกร้อนสร้างจิตสำนึกของผู้บริโภคในการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพให้เป็นระบบจริงจังและต่อเนื่องทั้งภาคการผลิต ภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือน
นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก (ข้อ 1.7 หน้า 8)
(1) แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
(1.1) ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภท ชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน
(1.2) จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสาร สาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน
(1.3) ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต
(1.4) แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลัง ซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
นโยบายพลังงานที่อยู่ ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2551
นโยบายพลังงาน (ข้อ 4.4 หน้า 26-27)
(1) พัฒนา พลังงานให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยจัดหาพลังงานให้เพียงพอ มีเสถียรภาพ ด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานประเภทต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเร่งให้มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านในระดับรัฐบาลเพื่อร่วมพัฒนาแหล่ง พลังงาน วางแผนพัฒนาไฟฟ้าให้มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการจัดหา ความผันผวนทางด้านราคา และลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก และโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก รวมทั้งศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่น ๆ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า
(2) ดำเนิน การให้นโยบายด้านพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ โดยสนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและชีวมวล เช่น แก๊สโซฮอล์ (อี 10 อี 20 และอี 85) ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดภาวะมลพิษ และเพื่อประโยชน์ของเกษตรกร โดยสนับสนุนให้มีการผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชน หมู่บ้าน ภายใต้มาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคขนส่งให้มากขึ้น โดยขยายระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมและวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนทุกรูปแบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
(3) กำกับ ดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีเสถียรภาพ และเป็นธรรมต่อประชาชน โดยกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงที่เหมาะสม และเอื้อต่อการพัฒนาพืชพลังงาน รวมทั้งสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด และบริหารจัดการผ่านกลไกตลาดและกองทุนน้ำมัน เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและส่งเสริมการแข่งขัน และการลงทุนในธุรกิจพลังงาน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัย
(4) ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน ทั้งในภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม บริการ และขนส่ง โดยรณรงค์ให้เกิดวินัยและสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานและสนับสนุนการ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัด พลังงานและมาตรการ สนับสนุนให้ครัวเรือนลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุดรวมทั้งการวิจัย พัฒนาและกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัด พลังงาน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการขนส่งระบบรางเพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถชะลอ การลงทุนด้านการจัด หาพลังงานของประเทศ
(5) ส่ง เสริมการจัดหาและการใช้พลังงานที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดโครงการกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
นโยบายพลังงานที่อยู่ ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันจันทร์ที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2551
นโยบายพลังงาน (ข้อ 3.4 หน้า 16-17)
(1) สร้าง ความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้วยการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน โดยเร่งรัดให้มีการลงทุนสำรวจและพัฒนาพลังงานทั้งจากในประเทศ เขตพื้นที่พัฒนาร่วม และจากประเทศเพื่อนบ้านให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ
(2) ส่ง เสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้มีราคาพลังงานที่เหมาะสม เป็นธรรม และก่อให้เกิดการแข่งขันลงทุนในธุรกิจพลังงาน โดยมีมาตรฐานคุณภาพการบริการและความปลอดภัยที่ดี
(3) พัฒนาและวิจัยพลังงานทดแทนทุกรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกแก่ประชาชนตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งศึกษาวิจัยและเตรียมความพร้อมเพื่อการตัดสินในพัฒนาพลังงานทางเลือก อื่นๆ ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงและพลังงานที่สอดคล้องกับท้องถิ่น
(4) ส่งเสริมการประหยัดพลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคประชาชนโดยมีมาตรการจูงใจที่เหมาะสม
(5) ส่งเสริมการพัฒนาผลิตและใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาด รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยบรรเทาสภาวะโลกร้อน
แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554
1. เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554 ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแล และติดตามการดำเนินงาน ตามนโยบายประหยัดพลังงานของประเทศ ได้เสนอมา โดยให้ปรับปรุงเพิ่มเติม ตามความเห็น ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ดังนี้
(1) เร่งให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ปรับปรุงระเบียบ และขั้นตอนการดำเนินงาน ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น เพื่อเร่งให้เกิดผลการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน ในอาคารควบคุม โรงงานควบคุม และอาคารของรัฐ อย่างแท้จริง และมีปริมาณที่มากพอในทางปฏิบัติ
(2) การนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง ต้องคำนึงถึงความพร้อมของนโยบายด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิเช่น การผลักดันนโยบายนำรถใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันสูง และก่อให้เกิดมลพิษต่ำ มาใช้แทนรถเก่าที่ใช้น้ำมันสิ้นเปลือง และนโยบายเกี่ยวกับการขนส่ง สินค้าทางรถไฟและทางเรือ รวมทั้ง การสนับสนุนการขนส่งสาธารณะ ให้เป็นระบบหลักของประเทศ ซึ่งได้มีการกำหนดไว้แล้ว เป็นระยะเวลานานมาก แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ในทางปฏิบัติ เพราะไม่มีกฎหมายหรือ มาตรการใดบังคับ
(3) ให้พิจารณาพลังงานทางเลือกอื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น พลังงานจากคลื่น เป็นต้น
(4) การสนับสนุนการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียน อย่างแพร่หลาย ควรพิจารณา นำมาตรการจูงใจทางภาษี (Tax incentive) มาใช้ด้วย โดยให้ผู้ประกอบการ สามารถนำค่าใช้จ่าย ในการลงทุน ที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน มาลดหย่อนภาษีได้
(5) เร่งพัฒนาบุคลากร ให้มีคุณภาพและมีปริมาณให้เพียงพอ พร้อมทั้งควรวางรากฐาน การสร้างความรู้ด้านพลังงาน เพื่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยเน้นการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการใช้พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ในวัยเด็ก
(6) ให้หน่วยงานที่จะดำเนินการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า โดยเขื่อนพลังน้ำขนาดเล็ก และเล็กมาก ที่ต้องใช้พื้นที่ในเขตลุ่มน้ำ 1A นำเสนอแผนการขออนุญาต ใช้พื้นที่ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายกรณีก่อนการดำเนินการ
2. มอบหมายให้คณะกรรมการกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ใช้แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานเป็นกรอบในการจัดสรรเงินกองทุนฯ และให้คณะกรรมการกองทุนฯ มีอำนาจที่จะปรับปรุงมาตรการต่างๆ ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญ ของการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ตลอดจนรายได้ของกองทุนฯ ด้วย
3. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน โดยประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงาน บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงาน


          
                หน่วยที่ 10 กฎหมายอนุรักษ์พลังงาน
ความเป็นมานโยบาย การประหยัดพลังงานของประเทศได้เริ่มต้นเมื่อปี2516 ซึ่งอยู่ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 3 (2516-2519) โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้กำหนดมาตรการป้องกันการขาดแคลนน้ำมันและประหยัดการใช้ น้ำมันและไฟฟ้าหลายประการซึ่งบางมาตรการมีลักษณะชั่วคราว เช่น ลดการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างในทางสาธารณะลงร้อยละ 50 จำกัดขนาดเครื่องยนต์ของส่วนราชการที่จัดซื้อใหม่ไม่เกิน 1,300 ซีซี เป็นต้นซึ่งมาตรการเหล่านี้ยกเลิกไปหมดแล้วเมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายลงสำหรับ มาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงาน หรือการประหยัดการใช้พลังงานที่ใช้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (2520-2525) ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการใช้น้ำมันยังมีอัตราที่สูงมาก อีกทั้งการผลิตไฟฟ้ายังพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมจากต่างประเทศในอัตราที่สูง มากมาตรการประหยัดพลังงานในขณะนั้นครอบคลุมทั้งการคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม ภาคส่วนราชการซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการชั่วคราวที่เน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าเท่านั้น เช่น จำกัดความเร็วรถยนต์นั่งและรถบรรทุก กำหนดบัสเลนห้ามจอดรถในถนนสายหลักห้ามไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้ ไฟฟ้าในช่วง Peak Load สาธิตการประหยัดพลังงาน กำหนดเวลาปิดเปิดของสถานบริการเริงรมย์ลดเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงเย็น เป็นต้น
จากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้ใช้เพื่อเป็นการลดการใช้น้ำมันและไฟฟ้าในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกมีราคาแพงและขาดแคลนนั้น ยังไม่สามารถลดการใช้น้ำมันและลดการพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลี่ยมจากต่างประเทศลง ได้อย่างบังเกิดประสิทธิภาพจวบจนกระทั่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529)จึงได้มีการกำหนดนโยบายทางด้านพลังงานไว้เพื่อใช้เป็นหลักในการ พัฒนาด้านพลังงานของประเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ โดยรวมถึงการปรับโครงสร้างการผลิตและการใช้พลังงานให้ลดลงมาตรการประหยัด พลังงานที่นำมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในสาขาอุตสาหกรรม และคมนาคมขนส่งตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 นั้นกำหนดให้เน้นถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตให้เกิดการ ประหยัดและลดการใช้พลังงานลง โดยให้มีการดำเนินงานในรูปโครงการประหยัดพลังงานของประเทศ
ในเบื้องต้นโครงการประหยัดพลังงานของประเทศ ได้กำหนดให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานดำเนินมาตรการส่งเสริม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดในภาคอุตสาหกรรม อาทิ การให้บริการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงานและเสนอแนะวิธีการประหยัดพลังงานใน โรงงานอุตสาหกรรมการจัดฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารวิศวกรและช่างเทคนิคของโรงงานการให้สิ่งจูงใจด้วยการ ลดอากรศุลกากรขาเข้าของเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน และการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่โรงงานเพื่อการสาธิตการประหยัดพลังงานรวม ทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารประหยัดพลังงานด้วยวารสารข่าวเอกสารวิชาการ โปสเตอร์ และแผ่นพับ เป็นต้น
โครงการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและขยายขอบ เขตกว้างขวางเพิ่มขึ้นจนถึงในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (2530-2534) จึงได้กำหนดเป้าหมายเพิ่มขึ้นให้มีการอนุรักษ์พลังงานในอาคารพาณิชย์และที่ อยู่อาศัยด้วย
ในปี พ.ศ. 2529 ภาย หลังจากที่ได้ดำเนินมาตรการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน จนได้ผลมาในระดับหนึ่งแต่จากการที่เศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มที่ขยาย ตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในด้านการส่งออกการลงทุน และการท่องเที่ยว ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขยายตัวขึ้นสูงตามไปด้วยจึงเป็นภาระ ของทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดหาพลังงานมาสนองตอบความต้องการใช้ให้เพียงพอ ดังนั้นนอกเหนือจากการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ๆ แล้วการอนุรักษ์พลังงานอย่างมีประสิทธิผลและยั่งยืนจะเป็นมาตรการอีกอย่าง หนึ่งที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพทางด้านพลังงานของประเทศได้ และจากการเห็นผลสำเร็จของต่างประเทศในการอนุรักษ์พลังงานอาทิ ญี่ปุ่น เยอรมัน แคนาดา ซึ่งประเทศเหล่านี้มีกฎหมายอนุรักษ์พลังงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้การ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานแก่ภาคเอกชน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ยกร่างกฎหมายส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงานขึ้นมาและได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติและได้มีพระบรม ราชโองการฯ ให้ประกาศใช้ในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2535 ทำให้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานพ.ศ. 2535มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา
กฎหมายอนุรักษ์พลังงาน มีชื่อเต็มว่า "พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535"ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 เมษายน2535 และมีผลให้ใช้บังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือวัน ที่ 3 เมษายน 2535 หลักการของกฎหมายมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. กำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ที่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย(อาคารควบ คุมและโรงงานควบคุม) มีการอนุรักษ์พลังงานด้วยการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและ ประหยัด
2.ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการผลิตเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงานขึ้นภายในประเทศ และมีการใช้อย่างแพร่หลาย
3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้การอนุรักษ์พลังงานเป็น รูปธรรมด้วยการจัดตั้ง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเพื่อใช้เป็นกลไกในการให้การอุดหนุนช่วยเหลือทางการเงินในการอนุรักษ์ พลังงาน
กฎหมายอนุรักษ์พลังงานประกอบด้วย 9 หมวด 61 มาตรา ดังนี้
บทบัญญัติและคำนิยามศัพท์
(มาตรา 1-6)
หมวด 1 การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานควบคุม
(มาตรา 7-16)
หมวด 2 การอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุม
(มาตรา 17-22)
หมวด 3 การอนุรักษ์พลังงานในเครื่องจักรอุปกรณ์และส่งเสริมการใช้วัสดุเพื่ออนุรักษ์พลังงาน
(มาตรา 23)
หมวด 4 กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
(มาตรา 24-39)
หมวด 5 มาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือ
(มาตรา 40-41)
หมวด 6 ค่าธรรมเนียมพิเศษ
(มาตรา 42-46)
หมวด 7 พนักงานเจ้าหน้าที่
(มาตรา 47-49)
หมวด 8 การอุทธรณ์
(มาตรา 50-52)
หมวด 9 บทกำหนดโทษ
(มาตรา 53-61)
กลุ่มเป้าหมายหลักของกฎหมายตามหมวด 1 หมวด 2 และ 3 สามารถจัดแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่รัฐจะเข้าไปกำกับดูแล และให้การส่งเสริมช่วยเหลือคือ
1. โรงงานควบคุม
2. อาคารควบคุม
3. ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงาน
สำหรับกลุ่มโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมจะเน้นไปที่ โรงงาน และอาคารที่ใช้พลังงานในปริมาณมากและมีศักยภาพพร้อมที่จะดำเนินการอนุรักษ์ พลังงานได้ทันทีโดยจะมีการออก "พระราชกฤษฎีกากำหนดโรงงานควบคุม" และ "พระราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม"เพื่อ กำหนดว่าโรงงานและอาคารประเภทใดใช้พลังงานชนิดใด ในปริมาณเท่าใดจึงจะเป็นโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่จะต้องดำเนินการ อนุรักษ์พลังงานตามพระราชบัญญัตินี้
ในส่วนของกลุ่มผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเครื่องจักร อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงและวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์พลังงานจะได้รับ สิทธิในการอุดหนุนช่วยเหลือเพื่อให้มีการผลิตหรือจำหน่ายเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุเหล่านี้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างแพร่หลาย และมีราคาถูกซึ่งจะช่วยให้ประชาชนทั่วไปลดการใช้พลังงานลงได้ทั้งนี้จะได้มี การกำหนดประเภทและมาตรฐานของคุณภาพของเครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุที่จะได้รับสิทธิอุดหนุนช่วยเหลือไว้ในกฎกระทรวงต่อไป
กิจกรรมที่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานตามมาตรา 7 ได้แก่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้เชื้อเพลิง
2. การป้องกันการสูญเสียพลังงาน
3. การนำพลังงานที่เหลือจากการใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
4. การเปลี่ยนไปใช้พลังงานอีกประเภทหนึ่ง
5. การปรับปรุงการใช้ไฟฟ้าด้วยวิธีปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า การลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วงความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของระบบการ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับภาระและวิธีการอื่น
6. การใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ตลอดจนระบบควบคุมการทำงานและวัสดุที่ช่วยในการอนุรักษ์พลังงาน
7. การอนุรักษ์พลังงานโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารตามมาตรา 17 ได้แก่ การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1. การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร
2. การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคารที่อยู่ระดับที่เหมาะสม
3. การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้นๆ
4. การใช้แสงสว่างในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
5. การใช้และการติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ และวัสดุที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร
6. การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์
7. การอนุรักษ์พลังงานโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การกำหนดประเภทกิจกรรมที่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์ พลังงานในโรงงานและอาคารดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้ ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนผู้ปฏิบัติและผู้กำกับดูแลมีความเข้าใจ ชัดเจนตรงกันว่าการดำเนินการอย่างใดที่ถือว่าเป็นการอนุรักษ์พลังงานตาม กฏหมายนี้
สำหรับหน้าที่และขั้นตอนการอนุรักษ์พลังงานของอาคาร ควบคุมและโรงงานควบคุม สิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงานและอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ข้อกำหนดอาคารควบคุม พระ ราชกฤษฎีกากำหนดอาคารควบคุม พ.ศ. 2538 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2538ได้กำหนดให้อาคารที่มีลักษณะเป็นอาคารหลังเดียวหรือหลายหลังภายใต้เลข ที่บ้านเดียวกันที่มีการใช้พลังงานดังต่อไปนี้เป็น "อาคารควบคุม
1. ได้รับอนุมัติจากผู้จำหน่ายให้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือให้ติดตั้งหม้อแปลง ไฟฟ้าชุดเดียวหรือหลายชุดรวมกันมีขนาดตั้งแต่1,000 กิโลวัตต์ หรือ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป
2. มีการใช้ไฟฟ้าจากระบบของผู้จำหน่ายความร้อนจากไอน้ำจากผู้จำหน่ายหรือ พลังงานสิ้นเปลืองอื่นจากผู้จำหน่ายหรือของตนเองอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวม กันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31ธันวาคมของปีที่ผ่านมามีปริมาณพลังงานทั้งหมดเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูลขึ้นไป
หน้าที่และขั้นตอนการอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุม ตาม มาตรา 9ได้กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของโรงงานควบคุมต้องดำเนินการไว้ชัดเจน คือ ต้องอนุรักษ์พลังงานตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงานในโรงงานของตนให้เป็น ไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง(ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่าง กฏกระทรวงมาตรฐานอนุรักษ์พลังงานในโรงงานควบคุม)ประกอบมาตรา 21 ได้กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของอาคารควบคุมต้องอนุรักษ์พลังงานตรวจสอบและ วิเคราะห์การใช้พลังงานในอาคารของตนให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 19 กฎกระทรวงมาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในอาคารควบคุม ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานในเรื่องของค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของอาคาร (OTTV,RTTV) การใช้ไฟฟ้าส่องสว่างในอาคาร และมาตรฐานการปรับอากาศในอาคาร
นอกจากหน้าที่ตามมาตรา 9 และ 21 แล้วตามมาตรา 11 และมาตรา 22ยังได้กำหนดให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องดำเนินการดังต่อไป นี้
1. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอย่างน้อย 1 คนประจำที่โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่ละแห่ง
2. ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานให้แก่กรม พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานตามแบบและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. จัดให้มีการบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานการติดตั้งหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. กำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมและส่งให้ แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
5. ตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทกำหนดโทษสำหรับผู้ฝืนกฏหมายอนุรักษ์พลังงาน
หมวด ๙ ได้กำหนดโทษไว้ในมาตรา ๕๓ ๖๑ ดังนี้
มาตรา ๕๓ เจ้าของโรงงานควบคุมแห่งใดแจ้งรายละเอียดหรือเหตุผลตามมาตรา ๘ วรรคสาม อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๔ เจ้าของโรงงานควบคุมผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีที่สั่งตามมาตรา ๑๐ หรือเจ้าของอาคารควบคุมผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีที่สั่งตามมาตรา ๑๐ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
[มาตรา ๕๕ เจ้าของโรงงานควบคุมผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ (๑) หรือเจ้าของอาคารควบคุมผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ (๑) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท]
[* ยกเลิกความในมาตรา ๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน]
"มาตรา ๕๕ เจ้าของโรงงานควบคุม เจ้าของอาคารควบคุม หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา ๙ หรือมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองแสนบาท"
[มาตรา ๕๖ เจ้าของโรงงานควบคุมผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) หรือมาตรา ๑๕ หรือเจ้าของอาคารควบคุมผู้ใด ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ (๒) (๓) (๔) หรือ (๕) หรือมาตรา ๑๕ ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท]
[* ยกเลิกความในมาตรา ๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน]
"มาตรา ๕๖ ผู้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน การใช้พลังงานในเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ และคุณภาพวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรา ๔๘/๑ ผู้ใดรายงานผลการตรวจสอบและรับรองตามมาตรา ๔๗ (๓) อันเป็นเท็จหรือไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
[มาตรา ๕๗ เจ้าของโรงงานควบคุมผู้ใดรับรองผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรา ๑๓ (๑) หรือ (๒) อันเป็นเท็จ หรือเจ้าของอาคารควบคุมผู้ใดรับรองผลงานด้านการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรา ๑๓ (๑) หรือ (๒) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๒ อันเป็นเท็จ หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของโรงงานควบคุมผู้ใดรับรองข้อเท็จจริงตาม มาตรา ๑๔ (๓) (๔) หรือ (๖) อันเป็นเท็จ หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงานของอาคารควบคุมผู้ใดรับรองข้อเท็จจริงตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) หรือ (๖) ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๒๒ อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ]
[* ยกเลิกมาตรา ๕๗ ทั้งหมด]
มาตรา ๕๘ ผู้ใดไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบตามจำนวนที่ต้องส่ง ตามมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๓๗ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสิบล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๕๙ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๗ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๖๐ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล กรรมการ หรือผู้จัดการของนิติบุคคลนั้น หรือบุคคลใด ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น
มาตรา ๖๑ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการ เปรียบเทียบคดีที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้ทรง คุณวุฒิ ในทางกฎหมายสามคนมีอำนาจเปรียบเทียบได้ และเมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่ได้เปรียบเทียบภายในระยะ เวลาที่คณะกรรมการ เปรียบเทียบคดีกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในการสอบสวนถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความ ผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวน ส่งเรื่องให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
                       หน่วยที่ 11 การอนุรักษ์พลังงาน
ความหมายการอนุรักษ์พลังงาน
พลังงาน มาจากคำว่า พลัง และ งาน หมายถึง พลังต่างๆ ที่นำมาใช้ให้เกิดเป็นงานตามพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ.2535
พลังงาน หมายถึง ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งของที่อาจให้งาน ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้งาน เป็นผลของการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ เช่น เปลวไฟที่เผากาน้ำจะเปลี่ยนน้ำ ให้เป็นไอน้ำและแรงดันไอน้ำจะดันฝากาน้ำขึ้นได้ งานเช่นนี้เรียกว่า พลังงานและพลังงานยังรวมถึงการผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและ ประหยัด เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก แหล่งที่ใช้และผลิตพลังงาน
วิธีการอนุรักษ์พลังงาน มีหลากหลายวิธีสรุปได้ดังนี้
1.ในการเดินทาง
1.1 ใกล้ๆ...ไม่ไกลจนเกินไป...ควรเดินไป...ไม่ใช้รถ...หรือจะใช้รถจักรยานแทนก็ได้ เป็นการออกกำลังกายไปในตัว
1.2 ควรวางแผนเส้นทางก่อนเดินทาง เพื่อเลือกทางที่ใกล้ที่สุด หรือใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานหรือลดความสิ้นเปลือง ของน้ำมันเชื้อเพลิงต่อวันลงได้ รวมทั้งลดเวลาในการเดินทาง
1. 3 หากที่พักของเราใกล้กับที่ทำงานในระยะทางที่สามารถใช้รถโดยสารประจำทางได้สะดวก ก็ควรหันมาใช้รถประจำทางให้มากขึ้น
1.4 ถ้าต้องการเดินทางจากที่พักถึงที่ทำงานเป็นระยะทางไกลๆทุกวัน ควรจะใช้เส้นทางลัด หรือเส้นทางที่มีสัญญาณไฟจราจรหรือทางแยก น้อยที่สุด
1.5 หลีกเลี่ยงเวลาทางเดินทางระยะไกล เช่น ไปต่างจังหวัด หากไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลแล้ว ควรหันมาใช้รถโดยสารประจำทาง หรือ รถไฟ
1.6 หมั่นตรวจสอบสภาพรถตลอดเวลา และก่อนเดินทางไกล
2. การอุตสาหกรรมพระ ราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ก็คือ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้มีมาตรการผลักดัน แนะนำ ส่งเสริม กระตุ้นเพื่อให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นระบบโดยรัฐบาลได้ให้ การสนับสนุนทางเทคนิคและวิชาการทางเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านการเงินในการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น บุคลากร ข้อมูล แผนงาน เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานนี้ยังเป็นกรอบและแนวทางปฎิบัติในการปรับปรุง คุณภาพของพลังงานให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงานฉบับนี้ยังได้ระบุให้เจ้าของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่งตั้งเจ้า หน้าที่ประจำโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมซึ่งมีคุณสมบัติตามที่พระราช บัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้เป็นผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน และให้ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. บำรุงรักษาและตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานเป็นระยะๆ
2. ปรับปรุงวิธีการใช้พลังงานให้เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์พลังงาน
3. รับรองข้อมูลที่ส่งให้แก่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
4. ควบคุมดูแลการ บันทึกข้อมูลการใช้พลังงาน การติดตั้งเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานและการ อนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้และรับรองความถูกต้องของการบันทึกดังกล่าว
5. ช่วยเจ้าของโรง งานควบคุมหรืออาคารควบคุมกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานเพื่อส่งให้กรม พัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. รับรองผลการ ตรวจสอบหรือวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานของโรงงาน ควบคุมหรืออาคารควบคุมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
7. ช่วยเจ้าของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมปฏิบัติตามคำแนะนำของอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
3. บ้านเรือนที่อยู่อาศัย การใช้พลังงานในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยควรปฏิบัติดังนี้
3.1 การใช้น้ำ
  • ใช้หัวก็อกที่มีตัวลดอัตราการไหลของน้ำให้อ่อนลง
  • ปิดก็อกน้ำในระหว่างแปรงฟัน สระผม หรือโกนหนวด
  • ใช้ไม้กวาดในการกวาดพื้นแทนการใช้น้ำฉีดเพื่อทำความสะอาด
  • ล้างรถด้วยน้ำถังและฟองน้ำ แทนการใช้สายยางฉีดน้ำ
  • ใช้น้ำจากการซักล้าง หรือถูพื้น เพื่อรดน้ำต้นไม้แทนการใช้น้ำประปา โดยตรง
3.2 เลือกซื้อแต่อุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานเช่น เลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีฉลากเบอร์ 5 เป็นต้น
3.3 การใช้เตารีดไฟฟ้า
  • ควรตั้งอุณหภูมิ (ความร้อน) ให้เหมาะสมกับชนิดผ้าและแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วย กัน เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง
  • ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมากๆ และพรมน้ำให้หมดทุกตัว ก่อนจะรีดผ้า
  • อย่าพรมน้ำจนเปียก เพราะจะทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิมสิ้นเปลืองไฟฟ้า
  • ก่อนรีดผ้าเสร็จควรดึงปลั๊กก่อน เนื่องจากยังมีความร้อนเหลืออยู่พอที่จะรีดต่อไปได้
  • เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่าย และประหยัดไฟฟ้า
3.4 การใช้โทรทัศน์
  • โทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
  • โทรทัศน์ที่มีระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่วไปในขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ใช้เครื่อง
  • ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้ ถ้าเสียบปลั๊กทิ้งไว้จะใช้ไฟฟ้าตลอดเวลา
  • โทรทัศน์ขาวดำจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าโทรทัศน์สี
  • ปิดเมื่อไม่มีคนดู
  • ควรตั้งเวลาปิดโทรทัศน์โดยอัตโนมัติ สำหรับเครื่องที่มีระบบตั้งเวลาปิด เพราะ จะช่วยประหยัดไฟสำหรับผู้ที่มักจะนอนไม่หลับหน้าโทรทัศน์หรือลืมปิดเครื่อง

3.5 การใช้เครื่องซักผ้า
  • แช่ผ้าก่อนเขาเครื่อง ทำให้ง่ายต่อการซักผ้า
  • ผ้าที่ซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป
  • ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้า มาก ควรตากผ้ากับแสงแดด หรือในที่มีลมโกรก


                        หน่วยที่ 12 การจัดการสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็น ปัญหาที่สำคัญในโลกปัจจุบันซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของมนุษย์อันเนื่อง มาจากความต้องการพื้นฐานและความต้องการความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ กระตุ้นให้มนุษย์พัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการในการนำ ทรัพยากรธรรมชาติใช้อย่างสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าทั้งที่ เป็นสินค้าประเภททุน (Capital Goods) และสินค้าบริโภค (Consumer Goods) ซึ่งกระบวนการผลิตนี้เองที่ก่อให้เกิดของเสียออกสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาน้ำเสีย ปัญหาอากาศเป็นพิษ ปัญหาด้านเสียง และผลของการบริโภคก็ทำให้เกิดของเสียกระจายสู่สิ่งแวดล้อมในรูปของขยะมูลฝอย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ฯลฯ
แผนงานสหประชาชาติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม ยูเนป (United Nations Environment Programme-UNEP)
แผนงานยูเนป ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (ค.ศ. ๑๙๗๒) เป็นไปตามข้อตกลงของที่ประชุมของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน หน้าที่ของแผนงานนี้คือ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานและเร่งรัดให้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือกับองค์การอื่นๆ ของสหประชาชาติ รัฐบาลองค์การเอกชน และองค์การระหว่างรัฐบาล
ขอบเขตงานของยูเนปมี ๓ประการ คือ ๑) ประเมินสภาพสิ่งแวดล้อม ๒) จัดการกับสิ่งแวดล้อม และ ๓) สนับสนุนมาตรการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จุดหมายปลายทางคือ ช่วยเหลือประเทศสมาชิกให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ช่วยจัดสรรสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมแก่การมีชีวิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะสำหรับประเทศในเอเชียและแปซิฟิก
เรื่องสำคัญที่ต้อง ดำเนินการแก้ไขด่วนเป็นลำดับแรก ได้แก่ การคุ้มครองบรรยากาศของโลกการรักษาคุณภาพของน้ำจืด การคุ้มครองทะเลมหาสมุทร และริมฝั่ง การระงับการตัดไม้ทำลายป่าและก่อให้เกิดสภาพทะเลทราย สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การจัดการกับฤทธิ์ของสารเคมีและขยะอุตสาหกรรม การสร้างเสริมสมรรถภาพในการจัดการกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว มีอยู่สามประการ คือ
๑) อนุรักษ์อย่างยั่งยืน จัดการและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอากาศ ดิน น้ำ และระบบนิเวศ มิให้เกิดผลเสียตามมา
๒) ลดและป้องกันมลพิษโดยวิธีชำระ บำบัดของเสีย การนำของใช้แล้วมาทำประโยชน์
๓) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงนามให้สัตยาบรรณเพื่อดำเนินการตามข้อมตกลงต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น ข้อตกลง ณ เมืองมอนทรีออล (Montreal) และบาเซิล (Basel) เรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
แผนงานสหประชา ชาติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ดำเนินงานสำคัญไปแล้วหลายประการ เช่น การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านข่าวสารและการสื่อสารในเอเชียและแปซิฟิกในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๘ - พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการด้านจัดการสิ่งแวดล้อมทางอุตสาหกรรม เพื่อลดการใช้สารเคมีที่ทำลายโอโซนในประเทศกำลังพัฒนาการฝึกอบรมการใช้ยาฆ่า แมลงและสารเคมีในบ้านอย่างปลอดภัย และอื่นๆ อีกมาก
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment) คือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศที่พัฒนาแล้วที่นำมาใช้คาด การณ์ ทำนายผลกระทบของโครงการหรือกิจการ ทั้งทางบวกและทางลบ ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม พร้อมมีมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งในระหว่างการก่อสร้างและระยะ การดำเนินโครงการ
ความหมายของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การ ใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์เกี่ยวกับผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบ ของการดำเนินโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆด้าน ทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติและทางเศรษฐกิจสังคมเพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบ ในทางลบที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นกลับมา ได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ตลอดจนการเสนอแนะมาตรการในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม(Monitoring Plan) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและดำเนินการโครงการ
ความเป็นมาของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วต่างนำมาใช้ ในงานการจัดการสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการพัฒนาย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสูญเสีย ทรัพยากรธรรมชาติได้ เป็นการพัฒนาที่ฉลาด และรอบคอบโดยผนวกการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นโครงการหรือระยะวางแผนนั้น ย่อมจะช่วยลดผลกระทบพร้อมกับส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ประเทศ มีจำกัดอย่างระมัดระวังและมีประโยชน์สูงสุด ในประเทศไทยได้มีการใช้ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ
.ศ. 2524 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 46 ซึ่งในปัจจุบันได้ออกประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กำหนดประเภทและขนาดของโครงการจำนวน 22 ประเภท ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่หรือมีลักษณะที่อาจก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่าง รุนแรง ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาประกอบการอนุญาตหรืออนุมัติ โครงการของหน่วยงานผู้อนุญาตหรือคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้รายงานฯ จะต้องจัดทำโดยผู้มีสิทธิทำรายงานฯ ซึ่งจดทะเบียนกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
ขนาดโครงการที่ต้องทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 46 และมาตรา 51แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ซึ่งดำเนินโครงการหรือกิจการหรือจะดำเนินการขยายโครงการหรือกิจการ จำนวน 22 โครงการดังนี้
1. เขื่อนเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำ
2. การชลประทาน
3. สนามบินพาณิชย์
4. ระบบทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษ
5. การทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
6. นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรม
7. ท่าเรือพาณิชย์
8. โรงไฟฟ้าพลังความร้อน
9. การอุตสาหกรรม
10.โครงการทุกประเภทที่อยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ กำหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1บี
11. การถมที่ดินในทะเล
12.อาคารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ฝั่งทะเล ทะเลสาบ หรือชายหาด หรือที่อยู่ใกล้ หรือในอุทยานแห่งชาติ หรืออุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
13.การจัดสรรที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือเพื่อประกอบการพาณิชย์
14. โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
15.อุตสาหกรรมผลิตสารออกฤทธิ์ หรือ สารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์โดยกระบวนการทางเคมี
16. อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีโดยกระบวนการทางเคมี
17.ทางหลวงหรือถนน ซึ่งมีความหมายตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง ที่ตัดผ่านพื้นที่
18. โรงแรมหรือสถานที่พักตากอากาศ
19. อาคารอยู่อาศัยรวมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
20. โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม เฉพาะสิ่งปฎิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
21. อุตสาหกรรมประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำตาล
22. การพัฒนาปิโตรเลียม
การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึงกระบวนการกระจายทรัพยากรที่สําคัญทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและที่ มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสนองความพอใจในการนําสิ่งแวดล้อมไปใช้อย่างเหมาะสม ในการเป็นปัจจัยหลักและปัจจัยรองในอนาคต
การจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับสากล
1. มาตรฐาน ISO 9001 ระบบการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9001 ถูกพัฒนาขึ้นเป็นระบบมาตรฐานสากลเพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ ให้บริการได้จัดตั้งและรักษาระบบการจัดการด้านคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น โดยมาตรฐานนี้เกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการให้บริการ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกประเภทธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม บริษัทจำเป็นต้องมีความตระหนักและเป้าหมายที่ชัดเจนรวมทั้งหลักฐานของระบบ การจัดการที่มีประสิทธิผล เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการเตรียมตัวตามข้อกำหนดของมาตรฐานใบรับรอง มาตรฐาน ISO 9001 เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าระบบการจัดการด้านคุณภาพถูกนำไปใช้ในองค์กรอย่าง เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ใบรับรองมาตรฐานนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็น countermeasure สำหรับแก้ปัญหาเกี่ยวกับ product liability ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
2. มาตรฐาน ISO 14001 บริษัทต่างๆทุกวันนี้มีหน้าที่จะต้องรักษาสภาพแวดล้อมทั้งภายในชุมชนของท่าน และทั่วโลกโดยการจัดทำระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการ ประกอบธุรกิจ ทุกวันนี้ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เป็นระบบซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับนานาชาติ โดยระบบมาตรฐาน ISO 14001 มีการกำหนดโครงสร้างขององค์กรและความรับผิดชอบที่มีความจำเป็นในการบริหาร จัดการให้บรรลุตามเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท นอกจากนี้ระบบ ISO 14001 จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงและต้องมี การนำไปปฏิบัติในทุกระดับขององค์กร
ข้อมูลทั้งหมดได้มจาก

                     หน่วยที่13 การวางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างการเขียนโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
ประจำปี 2552
ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิต รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการกระทำของมนุษย์ที่ขาดจิตสำนึก และมีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไม่จำกัด จึงส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ เทศบาลตำบลท่าทองใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติในชุมชน เพื่อเป็นพื้นฐานการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่ความเป็นเมืองสะอาดและน่าอยู่ จึงได้กำหนดให้สถาบันการศึกษา เป็นเป้าหมายแรกในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการนำร่องให้ประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตเทศบาลตำบลท่าทองใหม่ต่อไป
ขั้นตอนในการดำเนินโครงการ
1. เสนอโครงการต่อผู้บังคับบัญชา
2. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. จัดกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เดินรณรงค์ตามโครงการรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
5. สรุปผลการดำเนินโครงการ
งบประมาณในการดำเนินโครงการ
งบประมาณรายจ่ายทั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 หมวดค่าใช้สอยประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้า ลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ ค่าใช้จ่ายโครงการรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติในชุมชน ตั้งไว้ 30,000 บาท แยกเป็น
1. ค่าเขียนป้ายผ้า ข้อความรณรงค์จำนวน 5 ผืนๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าพัดสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 250 อันๆละ 15 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท
3. ค่าอาหารว่างจำนวน1 มื้อ ๆละ 25 บาทเป็นเงิน 5,000บาท
4. ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
5. ค่าแผ่นพับโครงการฯ เป็นเงิน 5,650 บาท
6. ค่าสติกเกอร์โครงการฯ เป็นเงิน 9,000 บาท
7. ค่าจัดดอกไม้ เป็นเงิน 2,400 บาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เยาวชน/ประชาชน มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. เยาวชน/ประชาชน ตระหนัก ตื่นตัว ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม
3. เยาวชน/ประชาชน มีการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลการประเมิน
เป้าหมาย
1. เด็กมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 60 คน
2 อสม. จำนวน 40 คน
3 ชุมชนละ 10 คน จำนวน 70 คน
4 เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน
รวมทั้งหมด 200 คน

                 
                     หน่วยที่14 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลง
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยามความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
3.1ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
3.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3.3การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
4. เงื่อนไขการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
4.1เงื่อนไขความรู้ประกอบ ด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
4.2 เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2549 กระทรวงพลังงานร่วมมือกับสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จัดเสวนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในหัวข้อ "เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาพลังงาน" ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นวิทยากร ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
"พลังงานเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องใกล้ตัว เพราะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ลองสังเกตดูสิครับ ทุกวันนี้เราเข้านอนด้วยสภาพจิตใจไม่ค่อยปกติ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อตื่นขึ้นมาค่าน้ำมันจะขึ้นไปอีกหรือเปล่า พรุ่งนี้ลิตรละเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้ เมื่อเริ่มเข้าทำงานราชการนั้น น้ำมันลิตรละ 3-4 บาทเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าหลังเกษียณมาหกเจ็ดปี ราคาน้ำมันจะขึ้นมา 4 ลิตร 100 บาทแล้ว.....
แต่เดิมหลักชาวพุทธเราเคยกล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิตคือปัจจัยสี่ แต่พอมาเหลียวดูทุกวันนี้ ไม่ว่าการก่อสร้างบ้านอยู่อาศัย อาหารการกิน เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ล้วนแต่ใช้พลังงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เราบริโภคก็ต้องอาศัยพลังงานในการปรุงแต่งทำ ให้เราได้สิ่งที่เป็นความสะดวกสบายต่างๆ....
ธรรมชาติให้เราอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็มาสร้างบ้านหลบเสีย ปิดม่าน เปิดไฟฟ้า เปิดแอร์ ตั้งสติสักนิดเถอะครับ ผมคิดว่าเราใช้ชีวิตอย่างสิ้นเปลืองมากๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเสนอเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาให้เลือก ใช้ปัญญาในการดำเนินชีวิตบ้าง ไม่ใช่ให้ไปปลูกถั่ว ปลูกงาอย่างที่หลายคนเข้าใจ ไม่ใช่รัดเข็มขัดจนกลับไปเป็นคนยากจน พระองค์ท่านเพียงอยากให้เรามีชีวิตโดยใช้ปัญญา อย่าให้กิเลสตัณหาเป็นตัวนำอยู่ตลอดเวลาเพระกิเลสตัณหานั้นผลักดันให้เรามี ความต้องการมากเกินเหตุที่ควรจะเป็นในชีวิตจริงๆ เสียด้วยซ้ำ"
แก๊สโซฮอล์ เป็น น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่างเอทานอล หรือ ที่เรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (ETHYL ALCOHOL) ซึ่งเป็น แอลกอฮอล์ ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ และเป็นแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5 % โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (ชนิดที่มีคุณสมบัติบางตัวต่างจากเบนซิน 91 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ออกเทน 95 ส่วนที่เรียกแก๊สโซฮอล์นั้น ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษจากคำว่า GASOLINE และ ETHANOL รวมกันเป็น GASOHOL สำหรับการผสมแอลกอฮอล์ในน้ำมันเบนซินในข้างต้น เป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่า Oxygenates และออกเทน (Octane) ของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ MethyL-Tertiary-ButyL-Ether (MTBE) ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านต่อปี
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (GASOHOL) ทุกวันนี้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่ลิตรละเกือบ 30 บาท ได้ทำลายสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์วงการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทย และกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดในทุกวงการได้พูดคุยถกเถียงกันหนาหู ถึงราคาที่ปรับขึ้นจนใกล้เข้าสู่จุดวิกฤตอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วย ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมด และยังคงต้องพึ่งพิงน้ำมันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพยายามหาแหล่งพลังงานทดแทนในประเทศมาใช้แทนน้ำมัน และหาแนวทางการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไบโอดีเซล คือการนำน้ำมันจากพืชหรือไขมันสัตว์หรือแม้แต่น้ำมันที่ใช้แล้วอย่างน้ำมัน ที่ทอดไก่ หรือปาท่องโก๋มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งอาจแบ่งไบโอดีเซลตามประเภทของน้ำมัน ที่นำมาใช้ได้ออกเป็น 3 ประเภท
1. น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ไบ โอดีเซลประเภทนี้ก็คือน้ำมันพืชแท้ๆ (เช่น น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วลิสง, น้ำมันถั่วเหลือง) หรือน้ำมันจากไขมันสัตว์(เช่น น้ำมันหมู) ซึ่งเราสามารถเอามาใช้ได้เลยกับเครื่องยนต์ดีเซลโดยไม่ต้องผสม หรือเติมสารเคมีอื่นใด หรือไม่ต้องนำมาเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำมันให้เปลืองเวลา เปลืองทรัพยากรอีก
2. ไบโอดีเซลแบบลูกผสม ไบโอดีเซลชนิดนี้เป็นลูกผสมระหว่างน้ำมันพืช (หรือสัตว์) กับ น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล หรืออะไรก็ได้เพื่อให้ไบโอดีเซลที่ได้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล ให้มากที่สุด อย่างเช่น โคโคดีเซล (coco-diesel) ที่ อ.ทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันก๊าด หรือปาล์มดีเซล (palm-diesel) เป็นการผสมระหว่างน้ำมันปาล์มกับน้ำมันดีเซล
3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ชนิด นี้เป็นความหมายของไบโอดีเซลที่แท้จริงที่เมืองนอกเขาใช้กันทั่วไป อย่างเช่น ในเยอรมัน สหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่มาเลเซีย ดังนั้น ถ้าพูดถึงคำว่า ไบโอดีเซลในความหมายของสากลจะหมายถึง ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า ทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น (Transesterification) นั่นคือ การนำเอาน้ำมันพืชหรือสัตว์ที่มีกรดไขมันไปทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์โดยใช้ กรดหรือด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ได้เอสเทอร์ โดยจะเรียกชนิดของไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ตามชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำ ปฏิกิริยา
ไบโอดีเซลชนิดเอสเทอร์นี้มี คุณสมบัติที่เหมือนกับน้ำมันดีเซลมากที่สุด ทำให้ไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์ เราสามารถนำมาใช้กับรถยนต์ได้ แต่ปัญหาที่จะมีก็คือต้นทุนการผลิตที่แพงนั่นเอง
ข้อดีข้อเสียของไบโอดีเซล (เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล) ไบโอดีเซลแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลปกติดังนี้
1. น้ำมันพืชหรือสัตว์ พวกน้ำมันพืชหรือสัตว์มีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากคุณสมบัติของมันต่างกับดีเซลค่อนข้างมาก อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็เลยมีปัญหาเรื่องการสันดาปไม่สมบูรณ์ เครื่องสะดุด มีผลต่อลูกสูบและวาล์ว มีตะกรันขาวอยู่ในถังน้ำมัน และหนืด ความหนืดสูงที่อุณหภูมิต่ำลงทำให้ จากที่สตาร์ตไม่ค่อยจะติดอยู่แล้วกลายเป็นไม่ติดไปเลยในที่อากาศเย็นๆ แต่มีข้อดีก็คือมีราคาถูก พอใช้ได้กับเครื่องยนต์รอบต่ำ แต่ก็ไม่ค่อยนิยมใช้กัน
2. ไบโอดีเซลลูกผสม เนื่อง จากไบโอดีเซลประเภทนี้เกิดจากการผสมกันระหว่างน้ำมันพืชและน้ำมันปิโตรเลียม ทำให้ลดปัญหาเรื่อง ความหนืดลงไปได้บ้าง แต่ก็ยังมีปัญหาตอนที่อากาศเย็น และปัญหาเรื่องการอุดตันของเครื่องยนต์คือ ไส้กรองจะอุดตันเร็วกว่าปกติ สำหรับปัญหาอื่นๆไม่มี คุณสมบัติส่วนมากจะเหมือนกับน้ำมันดีเซล เครื่องจะเดินเรียบไม่มีปัญหาเรื่องสะดุดกุกกักเหมือนแบบแรก เครื่องสตาร์ตติดง่าย (แต่ควรมีการอุ่นน้ำมันนิดนึงก่อน) เหมาะสำหรับการใช้กับเครื่องยนต์รอบต่ำ หรือเครื่องจักรกลการเกษตร
3. ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์ ข้อดีอันดับแรกคือค่าซีเทน (cetane ค่าดัชนีการจุดติดไฟ) สูงกว่าน้ำมันดีเซล นั่นคือจุดติดไฟได้ง่ายกว่าน้ำมันดีเซล ทำให้การจุดระเบิดทำได้ดี การสันดาปสมบูรณ์ คาร์บอนมอนอกไซด์ก็เลยน้อย ไม่มีควันดำและซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซ้ำเติมสิ่งแวดล้อม ความหนืดคงที่ จึงตัดปัญหาเรื่องความหนืดออกไปได้ แต่ข้อเสียคือต้นทุนสูงกว่าไบโอดีเซลแบบอื่นๆ เครื่องยนต์ให้กำลังต่ำกว่าน้ำมันดีเซล มีการสร้างแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เพิ่มขึ้น แล้วก็อาจต้องดัดแปลงส่วนประกอบของเครื่องยนต์ที่เป็นยาง (rubber) ซึ่งอาจถูกทำลายโดยไบโอดีเซล แต่ไบโอดีเซลแบบเอสเทอร์นี้ใช้กับเครื่องยนต์รอบสูงอย่างรถยนต์ได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น